คุณแม่ ท้องแฝด ภาวะอันตราย ที่ไม่น่าดีใจ

10939
แบ่งปัน

จะว่าไปแล้ว ตามธรรมชาติแล้ว มดลูกของผู้หญิง จะถูกออกแบบมาสำหรับตั้งท้อง ลูก เพียงคนเดียว แต่เมื่อเกิดความพิเศษ คือมีการ ตั้งครรภ์แฝด ไม่ว่าจะเป็น แฝด 2 หรือ แฝด 3 ก็ตาม ทางการแพทย์ จะถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของ การตั้งครรภ์ ซึ่งมีความเสี่ยง ที่จะเกิดอันตรายกับ แม่ ที่ตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นทางการแพทย์แล้ว จึงไม่แนะนำให้ คุณพ่อหรือ คุณแม่ พยายามที่จะทำให้เกิด การตั้งครรภ์แฝด แบบตั้งใจขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมานั้น ไม่ได้เกิดกับ แม่ เพียงคนเดียว แต่ความเสี่ยงที่ว่า ก็เกิดกับตัวของ ลูกน้อย ที่อยู่ในครรภ์ด้วย เชื่อหรือไม่ว่า พ่อแม่ หลายๆ คน ไม่คิดว่า ท้องแฝด เป็นเรื่องที่อันตราย แต่กลับมองว่า เป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องพิเศษ ไม่ธรรมดา และใครที่ ตั้งครรภ์แฝด ได้ ถือว่า มีบุญ หรือโชคดีเอามากๆ แตกต่างกับทางการแพทย์ ที่มองถึงเรื่องของ สุขภาพของทั้ง คุณแม่ และลูกน้อย ที่อยู่ในครรภ์ ที่อาจจะได้รับอันตราย จากการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ของคุณแม่ได้

คุณแม่ต้องรู้  เจ็บหน้าอกตอนตั้งครรภ์ มีสาเหตุจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไรดี

คุณแม่ ท้องแฝด

ที่ว่าอันตรายนั้น ก็เนื่องมาจาก คุณแม่ ท้องแฝด นั้น มีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะเกิดการ “แท้ง” อธิบายง่ายๆ การตั้งครรภ์แฝด ก็คือ การที่มีเด็กน้อย 2 – 3 คน เกิดมาจากไข่ใบเดียว หรือจะไข่คนละใบ อยู่ในมดลูกเดียวของ คุณแม่ ซึ่งเกิดจากไข่ใบเดียว หรือคนละใบ ก็มีส่วนทำให้เกิดความแตกต่าง ในค่าความเสี่ยง ที่แตกต่างกันตามไปด้วย กล่าวคือ

แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน และสเปิร์มตัวเดียว อันนี้เข้าใจได้ง่ายๆ เลยก็คือ เด็กจะมีลักษณะภายนอก เหมือนกันทุกประการ เหมือนแฝดหน้าคล้าย ที่เราเห็นกันทั่วๆ ไปนั่นแหละ ความเสี่ยง ที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการตั้งครรภ์แฝด แบบนี้ มีสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ง่ายกว่า

แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ และสเปิร์มคนละตัว อันนี้ไม่ค่อยพบบ่อยนัก นั่นคือ เด็ก 2 คน จะไม่มีอะไรเหมือนกันเลย เพียงแต่อยู่ในมดลูกเดียวกันเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง แตกต่างกันหมด เพราะเกิดจากไข่ และสเปิร์ม ที่แตกต่างกัน อันนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า

คุณแม่ต้องรู้  ท้องสองคลอดง่าย กว่าท้องแรก คำบอกเล่านี้ เป็นความจริงหรือไม่?

อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจง่ายๆ ถึงอันตราย นั่นคือ แฝด ที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน สเปิร์มตัวเดียวกัน มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ความไม่สมบูรณ์ต่างๆ ขึ้น เนื่องจากใช้รกเส้นเดียวกัน มีโอกาสที่จะเกิดการแยกตัวกันไม่สมบูรณ์ อาจมีอวัยวะบางส่วน ติดกัน เหมือนกับ แฝดสยาม ที่เมื่อคลอดออกมา ต้องมาทำการผ่าตัดแยกออกจากกัน ซึ่งมีโอกาสรอดน้อยมาก หรือถ้าแยกในครรภ์ได้อย่างสมบูรณ์ ก็อาจเกิดภาวะ รกไม่แยกออกจากกัน ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือที่เรียกว่า แฝดถ่ายเลือด อันนี้ทำการรักษาลำบากมาก ต้องทำการรักษาในครรภ์ ความเสี่ยงที่จะแท้ง จึงสูงมากๆ

การดูแลในอันดับแรกก็คือ การที่ คุณแม่ ต้องรู้ให้เร็วว่า ตั้งครรภ์ หรือไม่ ยิ่งรู้ว่าตั้งครรภ์เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งตรวจพบว่า ตั้งครรภ์แฝด ได้เร็วเท่านั้น และเมื่อพบว่า ท้องแฝด ก็จะได้ทำการฝากครรภ์ กับสถานพยาบาล ที่น่าไว้ใจ อย่างเช่น โรงพยาบาลรัฐที่มีโรงเรียนแพทย์ เพราะมีอาจารย์หมอเยอะ ผ่านกรณีพวกนี้มาเยอะ หรือโรงพยาบาลเอกชน ที่มีชื่อเสียง ไม่แนะนำ ให้ฝากท้องกับคลีนิก เป็นอันขาด แนะนำให้พบแพทย์ ระดับอาจารย์หมอ ที่มีความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการดูแล ครรภ์แฝด โดยเฉพาะ จะดีที่สุด

คุณแม่ต้องรู้  6 ความเสี่ยงที่ต้องระวัง ก่อนตัดสินใจที่จะ มีลูก และตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อน ตั้งครรภ์แฝด

อยากให้เข้าใจกันเสียใหม่ว่า การตั้งครรภ์แฝด นั้น ไม่ใช่เรื่องดีแต่อย่างใด หลายคนมองว่า มีลูกแฝดก็ดีนะ ตั้งท้องทีเดียว ได้ลูก 2 คน ไม่ต้องเจ็บบ่อยๆ เจ็บครั้งเดียว ได้ลูก 2 คนเลย แต่ในทางการแพทย์แล้ว ท้องแฝด ถือเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่ความพิเศษ เพราะมีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เด็กเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ แยกจากการไม่สมบูรณ์ ได้รับสารอาหารไม่สมบูรณ์ พิการ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งส่งผลอันตราย ต่อทั้งตัว คุณแม่ และตัวของ ลูกน้อย ที่อยู่ในท้องทั้ง 2 คน ทันทีที่รู้ตัวเองว่า ท้องแฝด อย่าเพิ่งดีใจ แต่ขอให้รีบตระหนักทันทีว่า ต้องดูแลให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า และรีบค้นคว้าหาข้อมูลไปพร้อมๆ กับ หาแพทย์ที่มีความชำนาญ เพื่อไปพบ ฝากครรภ์ และปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลครรภ์ทันที อย่าประมาทเป็นอันขาด