ปอดอักเสบ ในเด็ก ต้องระวังให้ดี ลูกเป็นได้ง่ายมากๆ นะ

43434
แบ่งปัน

ปอดอักเสบ โรคนี้ คุณแม่ หลายคนอาจจะฟังแล้ว ไม่คุ้นหู แต่ถ้าพูดว่า ปอดบวม คงจะเริ่มร้องอ๋อ กันแล้วล่ะ ว่ามันคือโรคอะไร อันที่จริงแล้ว ปอดอักเสบ กับ ปอดบวม มันก็คือโรคอันเดียวกัน เพียงแต่มีชื่อเรียกที่ต่างกัน ตามทางการแพทย์ และภาษาชาวบ้านเรานั่นแหละ ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของ ระบบการหายใจ ของร่างกายเรา มีอยู่ 2 ข้าง ภายในทรวงอก พอเราหายใจเข้าไป อากาศที่ถูกสูดเข้าไป ก็จะเดินทาง ผ่านจมูก ลำคอ หลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็ก จากนั้นก็แตกแขนงไปตามหลอดลมฝอยและถุงลมเล็กๆ ที่อยู่ในปอด ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ซึ่งภายในถุงลมเล็กๆ นี่แหละค่ะ จะเป็นจุดที่มีการแลกเปลี่ยน ระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้แล้วในร่างกาย กับออกซิเจนที่ได้รับมา ออกจากเส้นเลือด เข้าสู่ถุงลม โดยผ่านผนังบาง ดังนั้น ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม ก็คือ การอักเสบของเนื้อปอด ส่วนปลายสุด หรือการอักเสบ ของถุงลมเล็กๆ ที่แลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ กับออกซิเจนนี่แหละ ทำให้การแลกเปลี่ยน ระหว่างอากาศภายในถุงลม กับเส้นเลือด ทำได้ไม่ดี ซึ่งโรคปอดอักเสบ หรือปอดบวมนี้ เป็นกันได้ ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ แต่ในเด็กเนี่ย เวลาเป็นแล้ว จะน่าเป็นห่วงกว่าในผู้ใหญ่เยอะ เพราะเค้ายังไม่รู้เรื่อง และบอกอะไรเราไม่ได้ ช่วยตัวเองก็ยังไม่ได้ มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้ได้เช่นกัน

โรคปอดอักเสบ ในเด็ก

สาเหตุของโรค ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม

สำหรับสาเหตุของโรคนี้ ที่เกิดขึ้นใน เด็ก ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 สาเหตุคือ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ และ เกิดจากการสำลักอาหาร และนมอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าลองพิจารณาดู จะพบว่า มีความเสี่ยงสูงมากๆ เลยที่ ลูกรัก ของเรา จะเป็น โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม เพราะการสำลักอาหาร และนม อย่างรุนแรงนั้น ก็มีโอกาสเกิดขึ้นหลายครั้งอยู่ เป็นอะไรที่ป้องกันได้ยากมากๆ ที่จะไม่ให้เค้าสำลัก บางที แค่ดื่มน้ำ ยังสำลักเลย ยิ่งพอเลย 6 เดือนมาแล้ว เริ่มกินอาหารอ่อนๆ ได้ ก็มักจะมีการสำลักอาหารอยู่บ่อยๆ เพราะเค้ายังไม่ชิน กับการกลืนอาหาร ทำให้เด็กส่วนใหญ่ มักจะไม่รอด จากการต้องเป็น โรคปอดอักเสบ ส่วนสาเหตุจากการติดเชื้อทางเดินหายใจนั้น สามารถป้องกันได้ ด้วยการไม่พาไปสถานที่ชุมชน ที่มีคนพลุกพล่าน หรือไม่ใกล้ชิด กับคนที่มีอาการไม่สบายนิดๆ หน่อยๆ จะแค่เจ็บคอ น้ำมูกไหล เล็กน้อยอะไรพวกนี้ ก็ให้ลูกเรา เข้าใกล้ไม่ได้ เพราะการติดต่อของโรคนี้ จะติดต่อผ่านทางเดินหายใจ เช่น ไอ จามรดกัน หรือ หายใจรดกัน

คุณแม่ต้องรู้  ทารกแรกเกิด หลังกินนมแล้วต้องทำอย่างไร

ส่วนสาเหตุที่หลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดกันมาก ก็เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ตากแดด ตากลม หรือตากฝน อะไรพวกนี้ ไม่ใช่สาเหตุหลักเลยนะคะ เป็นเพียงแค่สิ่งที่มาทำให้ร่างกายเราอ่อนแอ และง่ายต่อการติดเชื้อมากขึ้นแค่นั้นเอง ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของ โรคปอดบวม นี้เลย

อาการของผู้ป่วย โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม

อาการหลักๆ ของเด็กที่ป่วยเป็น โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม นั้น จะมีอยู่ 3 อาการ ที่เด่นชัดเลย นั่นคือ มีไข้สูงตลอดเวลา, ไอและมีเสมหะเหนียวข้น และที่สำคัญ หอบ อันนี้สำคัญนะคะ อาการไข้นี่ เป็นกันทุกรายอยู่แล้วค่ะ แต่อาการไอแบบมีเสมหะ หรือมีน้ำมูก อันนี้ก็ค่อนข้างชัด แต่ที่จะชัดแบบสุดๆ เลยก็คือ อาการหอบ ซึ่งถ้าไปพบคุณหมอ คุณหมอ ก็จะฟังปอดก่อนเลย จะทำให้การวินิจฉัยโรค ง่ายขึ้นมาก เพราะอาการหอบใน เด็กเล็ก นั้นมักจะมีสาเหตุมาจาก โรคปอดอักเสบ เป็นส่วนใหญ่ เพราะถุงลมกับเส้นเลือดแลกเปลี่ยนออกซิเจนกันได้ไม่ดี ทำให้เกิดอาการ หายใจหอบขึ้น คุณแม่ เอง ก็สามารถสังเกตอาการนี้ได้ ก่อนมาพบหมอ ดูง่ายๆ ก็คือ เวลาน้องเค้าหลับ ถ้าเค้าหลับแล้วอ้าปาก แล้วหายใจหอบๆ แบบติดๆ ขัดๆ อันนั้นแหละค่ะ ชัดเลย ว่าน้องเค้าต้องมีอาการ ปอดบวมอย่างแน่นอน

คุณแม่ต้องรู้  ก่อนจะ ตั้งครรภ์ ต้องทำอะไรบ้าง ตอนที่ 1

การรักษา โรคปอดอักเสบ

สำหรับในรายที่ไม่รุนแรง เอาง่ายๆ ตั้งแต่ระดับมีอาการน้อยๆ ไม่น่าห่วง อันนี้คุณหมอ ก็จะให้ยาไปกิน แต่พอมีอาการรุนแรง หายใจหอบ ซึ่งอันตรายนะคะ หายใจหอบเนี่ย สามารถทำให้ลูกชีวิตได้ขณะที่นอนหลับเลยนะคะ คือหายใจติดขัด แล้วก็เสียชีวิตเลย ดังนั้น ในรายที่อาการพอจะเอาเรื่องอยู่ ก็ต้องใช้การพ่นยา และให้ยาไปทานที่บ้าน แต่สำหรับในรายที่หนัก คือหายใจหอบหนักมากๆ ต้องพ่นยา และนอนดูอาการที่โรงพยาบาล ที่ว่าดูอาการนี่ก็คือ คอยดูว่า น้องเค้าหายใจได้สะดวกมั้ย ถ้าไม่สะดวก อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เข้ามาช่วยให้อาการดีขึ้น

ปอดอักเสบ ปอดบวม เด็กเล็ก ลูกรัก

ยิ่งไปกว่านั้น ในรายที่อาการหนักๆ มีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น ได้แก่ โรคหนองในช่องปอด ฝีในปอด หลอดลมส่วนปลายโป่งพอง หรือแม้กระทั่ง ติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเชื้อมีโอกาสจะข้ามจากถุงลม เข้าไปที่เส้นเลือดได้โดยตรงเลย ส่งผลให้มีอาการหนัก และอาจเสียชีวิตได้

การป้องกัน โรคปอดบวม
  1. หลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิด กับผู้ที่เป็นหวัด หรือเป็น โรคปอดอักเสบ อย่าให้ลูกเข้าไปใกล้ หรืออยู่ในระยะที่จะติดเชื้อทางลมหายใจได้เด็ดขาด ในผู้ใหญ่ อาจจะแค่รู้สึกไม่ค่อยสบาย เจ็บคอนิดๆ แต่เชื้อเหล่านั้น ถ้าแพร่มาถึงเด็ก เด็ก จะมีอาการหนักกว่าเยอะนะคะ เพราะภูมิต้านทานของผู้ใหญ่ กับเด็ก มีความแตกต่างกันมาก
  2. ให้ลูกน้อย ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่าอดนอน เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนแอลง
  3. ทำให้ร่างกายของ ลูกรัก อบอุ่นอยู่เสมอ อย่าอยู่ในห้องแอร์ที่เย็นจัด หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
    อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อย่าอยู่ในที่อับ เพราะเชื้อโรค หรือแบคทีเรีย จะวนเวียนอยู่ในพื้นที่ หรือห้องที่อับนั้นตลอด ทำให้เป็นๆ หายๆ รักษาโรคปอดบวม ไม่หายขาดสักที
  4. หลีกเลี่ยงที่จะพา ลูกน้อย เข้าไปในที่ที่มีคนพลุกพล่าน อย่างในตลาดสด หรือสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีคนเยอะๆ อย่าพา เด็กน้อย ของเราไปเป็นอันขาด มีโอกาสที่เค้าจะหายใจรับเชื้อเข้าไปได้สูงมากเลยทีเดียว อันนี้เจอกับตัวมาแล้วค่ะ
  5. ฉีดวัคซีนป้องกัน ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และ IPD อันนี้ ดิฉัน ก็พา น้องเนปจูน ไปฉีดมาหมดนะคะ ซึ่งน้องก็ยังคง เป็นโรคปอดอักเสบอยู่ดี เคยสงสัย แล้วเข้าไปถามคุณหมอเลยว่า ฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว ทำไมลูกยังเป็น ปอดบวม ได้อีกล่ะคะ คำตอบที่ได้ก็คือ เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ที่จะมาเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบนั้น มีอยู่มากมาย หลายพันชนิด แต่สำหรับในวัคซีน ได้รวบรวมเฉพาะตัวที่อันตราย ถึงขั้นทำลายสมอง หรือทำให้เสียชีวิต แต่ตัวอื่นๆ ที่เพิ่งเกิดมาใหม่ หรือมีอยู่ทั่วไปนั้น ทำให้เกิดการระคายเคืองของปอดเท่านั้น มันจึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคปอดบวมได้อีก แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม
คุณแม่ต้องรู้  ตั้งครรภ์ 3 เดือน อาการเป็นอย่างไร และต้องดูแลตัวเองยังไง