ปากมดลูกหลวม อาการที่คุณต้องรู้ เพราะตรวจคัดกรองก่อนการตั้งครรภ์ไม่ได้

4888
แบ่งปัน

แอดมินเชื่อว่า คงมีคุณแม่หลายคน ไม่คุ้นเคยกับคำว่า ปากมดลูกหลวม อย่างแน่นอน บางคนอาจจะคิดไปถึงอย่างอื่น ว่าเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์หรือไม่ อันที่จริงแล้ว อาการปากมดลูกหลวมนี้ เป็นอาการเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ค่ะ เป็นอาการที่ไม่สามารถตรวจคัดกรอง เพื่อดูความเสี่ยง ก่อนการตั้งครรภ์ได้ จะรู้ว่าเป็น ก็ตอนที่ตั้งครรภ์แล้ว มันจึงเป็นอะไรที่อันตรายมากๆ เพราะหากเป็นแล้ว มีความเสี่ยงที่จะทำให้แท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด อาการนี้ ไม่ใช่โรคร้ายนะคะ แต่อาจจะเป็นอาการที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด หรือจู่ๆ อาจจะเป็นเอง ซึ่งถ้าจะให้ระบุสาเหตุที่แท้จริงแล้ว ทางการแพทย์ ยังไม่สามารถระบุแบบชัดๆ ลงไปได้ มีเพียงแต่ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจจะทำให้เกิดอาการนี้ได้

ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจจะเป็น สาเหตุของอาการ ปากมดลูกหลวม

อย่าเข้าใจผิดนะคะ ถ้าหากพบว่า ตัวเองเคยมีอาการปากมดลูกหลวม แล้วจะมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ ไม่เกี่ยวกันนะคะ ผู้ที่เคยมี หรือมีภาวะปากมดลูกหลวม สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ และสามารถตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกัน เพราะภาวะดังกล่าวนี้ ไม่ใช่อุปสรรค ที่เป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก ไม่เกี่ยวแต่อย่างใดเลยนะคะ เพียงแต่จะทำให้เกิดความเสี่ยง ที่จะแท้ง และคลอดก่อนกำหนดได้ เท่านั้นเอง

คุณแม่ต้องรู้  ตรวจครรภ์ 17 สัปดาห์ ครึ่งทางสำคัญของลูกคนที่ 2

อย่างที่บอกไปแล้ว ว่าภาวะดังกล่าวนี้ ไม่สามารถตรวจพบ จากการตรวจคัดกรอง ก่อนการตั้งครรภ์ได้ จึงไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังสามารถประเมินถึงปัจจัย ที่อาจจะเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งก็ได้แก่

– คุณแม่ เคยมีประวัติการแท้งบุตร ในช่วงไตรมาสที่ 2 มาก่อน ซึ่งจะมีความเสี่ยง ที่จะเกิดภาวะดังกล่าวนี้ ในท้องต่อไปมากๆ

– ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 2 มีอาการตึงตัวในช่องคลอด และมีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีอาการไม่สบายตัว และปวดหลัง ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

ที่มาของอาการ ปากมดลูกหลวม

ที่มาที่ไป ก็มาจาก กล้ามเนื้อพิเศษ ที่บริเวณมดลูก ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีความพิเศษ ( ตามชื่อของมัน ที่เรียกว่า กล้ามเนื้อพิเศษ ) จะมีคุณสมบัติ สามารถยืดหยุ่นและขยายตัวได้ดี เมื่อจะเข้าสู่ระยะของการคลอด เป็นการบีบคลาย เพื่อขับให้ทารกออกมา ซึ่งกล้ามเนื้อพิเศษที่มดลูกส่วนนี้ จะมีความแข็งแรงมากกว่าปกติหลายเท่า ในช่วงที่มีการตั้งครรภ์

ภาวะปากมดลูกหลวม ก็คือ กล้ามเนื้อพิเศษ ส่วนนี้ อ่อนแอ ไม่แข็งแรง ทำให้ปากมดลูกไม่แข็งแรง มีการขยายตัวเกิดขึ้น ก่อนที่จะถึงเวลาคลอด ส่งผลให้เกิดอาการแท้ง จากถุงน้ำคร่ำแตก หรืออาจจะทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ ส่วนใหญ่แล้ว ภาวะดังกล่าวนี้ มักจะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2 เพราะทารกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ปากมดลูก ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแอ ไม่สามารถรับน้ำหนัก ทารกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้ จึงมีการเปิดขยายออกก่อนเวลา

คุณแม่ต้องรู้  ตกขาวระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่? คุณแม่ ควรดูแลอย่างไร?

อาการผิดปกติ หรือ อาการที่กล้ามเนื้อมดลูกอ่อนแอนี้ อาจะเป็นมาแต่กำเนิด หรืออาจจะเกิดขึ้นภายหลัง เช่น การคลอดปกติแล้วทำให้ปากมดลูกฉีกขาด หรือมีประวัติการคลอดยาก หรือเคยได้รับการผ่าตัดที่ปากมดลูกมาก่อน

สำหรับคุณแม่ ที่ตั้งครรภ์ ลูกแฝด อาจจะมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูก มากกว่าปกติ ซึ่งต้องคอยตรวจ และระมัดระวัง ในช่วงไตรมาสที่ 2 ให้ดี

การรักษาภาวะ ปากมดลูกหลวม

แม้ว่าภาวะดังกล่าวนี้ จะไม่สามารถตรวจเจอตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ได้ แต่ก็ยังสามารถรับการรักษาและตั้งครรภ์ต่อไปได้ โดยจะใช้วิธีการเย็บผูกปากมดลูก เพื่อเสริมความแข็งแรงของปากมดลูก ซึ่งตรงนี้ ต้องประเมินภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนด้วย และการดูแลตัวเองของคุณแม่ ต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การออกแรงใดๆ ที่จะทำให้เกิดการบีบเกร็งที่หน้าท้อง คุณแม่ต้องนอนพักให้เยอะๆ มากๆ ซึ่งนอกจากการเย็บปากมดลูกแล้ว คุณหมออาจจะให้ยาฮอร์โมนลดการบีบรัดตัวของมดลูก เข้ามาช่วยอีกด้วย

ความน่ากลัวของ ภาวะปากมดลูกหลวม ก็คือ การที่คุณแม่ รู้สึกตัวช้า หรือไปตรวจพบช้า ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ การแท้ง หรือการคลอดก่อนกำหนด อย่างที่บอกไปแล้ว หากเป็นภาวะดังกล่าวนี้ คุณแม่สามารถได้รับการรักษา และดูแลให้ตั้งครรภ์ต่อไป จนครบกำหนดได้ แต่ถ้าคุณแม่ ไม่คอยสังเกตอาการตัวเอง และรีบมาพบแพทย์ทันที ที่มีอาการ ก็อาจจะสายเกินกว่าที่จะรักษาได้ทัน อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าคุณแม่ทุกคน จะสามารถเกิดภาวะนี้กันได้ทั้งหมดนะคะ จะเป็นแค่บางคนเท่านั้นจริงๆ ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  โรคครรภ์เป็นพิษ น่ากลัวแค่ไหน เกิดได้ง่ายแค่ไหน อดนอนก็เป็นได้?