วิธีป้องกันไม่ให้ ลูกติดนมเต้า จนกลายเป็นปัญหา

30113
แบ่งปัน

ปัญหา ลูกติดนมเต้า นั้น เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก คุณแม่ หลายคน มักจะทำไม่ได้ เพราะใจอ่อนทุกครั้งที่เห็นลูกร้องไห้ ไม่สามารถตัดใจ หรือหักใจห้ามไม่ให้ ลูก กินนมได้ ถ้าถามว่า วิธีทำให้ ลูกหย่านมเต้า นั้น มีหรือไม่ ตอบได้เลยค่ะว่ามีอยู่แล้ว ซึ่งดิฉันเองก็เคยเขียนบทความไปแล้วใน วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ ได้ผลดีที่สุด แต่ก็มักจะทำตามกันได้ยาก บางวิธีก็มีผลข้างเคียง กับอวัยวะของลูก คือทำให้เลิกติดอย่างหนึ่ง แล้วกลายเป็นหันไปติดอีกอย่างหนึ่งแทน หรือบางวิธี ก็หักดิบเกินไป จนลูกต้องร้องไห้ สงสาร ลูก ขึ้นมาจับใจ สำหรับคนที่เป็น คุณแม่มือใหม่ นั้น ดิฉันอยากจะแนะนำว่า ให้ใช้ วิธีการป้องกันไม่ให้ ลูกติดนมเต้า ตั้งแต่เนิ่นๆ เลยจะดีกว่าค่ะ มันอาจจะยุ่งยากอยู่นานพอสมควร แต่มันก็ได้ผลดีในหลายๆ ด้าน อาจมีผลกระทบบ้างอะไรบ้าง แต่มันก็ดีกว่า ที่จะต้องมาหักดิบ ให้เค้าเลิกกินนมเต้า ในตอนโต ที่เค้ารู้เรื่องแล้ว และงอแงเป็นแล้ว เชื่อเถอะค่ะ การจะทำให้ ลูกหย่านมเต้า นั้น ยากมากจริงๆ ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  กระตุ้น พัฒนาการเด็ก 4 ด้าน ของลูกวัยแรกเกิด - 6 เดือน

แต่สำหรับ คุณแม่ ที่มีหัวนมบอด คือไม่ได้ให้นมลูกจากเต้า ไม่มีนมแม่ ก็ข้ามเรื่องนี้ไปได้เลยค่ะ เพราะจะไม่มี ปัญหาลูกติดนมเต้า เหมือน คุณแม่ ที่ให้นมเต้า แน่นอน เนื่องจาก ให้ลูกกินนมขวด มาตั้งแต่ยังเล็กอยู่แล้ว

วิธีป้องกันไม่ให้ ลูกติดนมเต้า จนกลายเป็นปัญหา

สำหรับวิธีการ ที่จะป้องกันไม่ให้ ลูกติดนมเต้า นั้นก็คือการ ปั๊มนม ออกมา แล้วให้เค้ากินนม จากขวดนมแทนค่ะ ให้เค้ากินนมจาก ขวดนม ตลอด ตั้งแต่เค้ายังเล็ก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือ หลังจากที่ ลูก มีอายุเกิน 3 เดือนไปแล้ว หรือในบางราย อาจจะเริ่มตอนอายุ 6 เดือน ก็ได้เช่นกัน ปั๊มนม เก็บเอาไว้เยอะๆ เวลาลูกจะกินนม ก็เอานมออกมาละลาย อุ่นนิดนึง แล้วก็ให้เค้ากินได้ ความลำบากของ คุณแม่ ก็คือ จะต้องขยัน ปั๊มนม เก็บไว้ให้มากๆ หน่อย เพื่อจะได้มีเพียงพอให้ ลูก กินได้ตลอดเวลา แต่มันก็มีข้อเสียอยู่เช่นกัน เอาง่ายๆ ดิฉันจะทำเป็นรายการออกมาให้ดู ว่ามันมีข้อดีข้อเสีย อย่างไรบ้าง เปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆ

คุณแม่ต้องรู้  เมนูอาหารสำหรับทารก ในแต่ละวัย ควรให้ทานอะไรบ้าง เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน

ข้อดีของการป้องกัน ลูกติดนมเต้า ด้วยวิธีการนี้

1. ลูกไม่ติดนมเต้า แน่นอน แม่ จะสบายมากขึ้น เมื่อเค้าโตมากขึ้นเรื่อยๆ

2. แม่ ไปไหนมาไหนได้สะดวก ให้ใครเลี้ยงลูกแทนก็ได้ เพราะลูกไม่ติดกินนมจากเต้าแม่

3. เอาลูกเข้านอนได้ง่าย ไม่ต้องลำบากมานอนให้นมลูก จนลูกหลับคาเต้า

ข้อเสียของการป้องกัน ลูกติดนมเต้า ด้วยวิธีการนี้

1. ตอนกลางคืนจะลำบาก เพราะต้องตื่นมาเตรียมนมใส่ขวดให้ลูก

2. ต้องล้างขวดนมจำนวนมาก ยิ่งลูกกินบ่อย ก็ยิ่งต้องล้างบ่อย

3. คุณแม่ ไปไหนมาไหน ต้องพกเครื่องปั๊มนม และกระติดแช่แข็ง ติดตัวตลอดเวลา ต้องขยันปั๊มให้มากที่สุด

4. เสียเวลาละลายนม และอุ่นนมทุกครั้ง ก่อนให้นมลูก

5. นมแม่ จะหมดเร็วมาก เพราะความแรง และความถี่ของเครื่องปั๊มนมนั้น สู้ความแรงและความถี่จากการดูดจากปากของลูกไม่ได้เลย

6. แม่ กับ ลูก ไม่ได้ใกล้ชิดกันเท่าที่ควร ไม่อบอุ่น และไม่แนบแน่น เหมือนกับการให้นมจากอกแม่โดยตรง

คุณแม่ต้องรู้  ลูกรัก เป็น ไข้เลือดออก ทำยังไงดี

วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ จุกนมหลอก

จะเห็นได้ว่า มันก็มีข้อดี และข้อเสีย สุดท้าย ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณแม่ แต่ละคน จะเลือกใช้วิธีป้องกัน ลูกติดนมเต้า แบบนี้หรือไม่ คุณแม่มือใหม่ บางท่าน อาจจะเอาไปประยุกต์ ดัดแปลง ให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเอง ก็ได้เช่นกัน เพราะทุกอย่าง มันมีสองด้านเสมอค่ะ บางคนอาจจะเห็นว่า มีข้อเสียเยอะกว่า รับไม่ได้ ก็ให้นมเต้าต่อไป หรือบางคน อาจจะมองว่า แม้จะมีข้อเสียเยอะ แต่ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของ คุณแม่ ที่ต้องทำงานประจำ มีเวลาให้ลูกน้อย ก็อาจจะเลือกทำตามวิธีนี้ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ คุณแม่ ค่ะ ยกเว้นในกรณีเดียวก็คือ คุณเป็น คุณแม่ ที่เลี้ยงลูก เต็มเวลา คือไม่ได้ทำงานอะไรเลย ไม่ต้องไปไหน ทำอะไร อยู่บ้านเลี้ยงลูกเพียงอย่างเดียว อันนี้ก็ไม่ต้องสนใจ หรือไปคิดหาวิธีอะไรหรอกนะคะ ให้ดูดนมเต้าไปได้เลยค่ะยาวๆ ปล่อยเค้าไปเลย ลูก เค้าเบื่อเมื่อไหร่ เค้าก็เลิกไปเอง ประหยัด และไม่เหนื่อยที่ต้องมาละลายนม และล้างขวดนมด้วยค่ะ

ใครที่อยากจะเพิ่มเติม หรือเสนอความเห็นอะไร ก็เชิญเสนอความเห็นได้ที่ด้านล่างนี้เลยนะคะ หรือจะเข้าไปพูดคุยกันที่แฟนเพจ แม่เนปจูน ได้นะคะ