วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ ได้ผลดีที่สุด

74252
แบ่งปัน

ปัญหาใหญ่สำหรับ คุณแม่ ที่ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นั่นคือ ลูกติดนมแม่ หรือ ลูกติดนมเต้า ปัญหานี้ จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ในช่วงตั้งแต่ที่ ลูก อายุได้ 1 ปีขึ้นไป เพราะมักจะเป็นช่วงเวลาที่ แม่ หลายๆ คน เริ่มน้ำนมหมด หรือน้ำนมลดลงกันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดา คุณแม่ ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกเต็มเวลา คุณแม่ ที่ทำงานประจำ มักจะมีปัญหา ในเรื่องของ การทำให้ ลูกหย่านมแม่ มากที่สุด คุณพ่อ หรือคนทั่วๆ ไป อาจจะมองว่า ปัญหาในเรื่องของ ลูกติดนมแม่ นั้น แก้ไขได้ไม่ยากเลย ก็แค่ตัดใจ ไม่ให้ ลูก กินนมแม่ จากเต้า แค่นั้นก็จบแล้ว ลูกอาจจะร้องบ้าง อะไรบ้าง ก็ต้องอดทนกันไป ไม่นาน ก็หยุดร้องไปเอง ซึ่งทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ค่ะ ในความเป็นจริงแล้ว อะไรๆ มันไม่ง่ายเหมือนที่คิด เด็ก ที่กิน นมแม่ มาตั้งแต่เกิด โดยการดูดผ่านเต้านมโดยตรงนั้น เป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะให้เค้าหยุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลาที่เค้าจะนอนหลับ เพราะเค้าชินมาตลอด และรู้สึกว่า การได้ดูดนมจากเต้าของแม่ แล้วหลับนั้น เป็นความอบอุ่นมากที่สุด และทำให้เค้าหลับได้อย่างสบายใจมากที่สุด ถ้าเราทำการหักดิบแบบที่อยู่ๆ ก็ไม่ให้ ลูก กินนมจากเต้า ตอนที่เค้าจะนอน เค้าก็จะร้องไห้ไม่ยอมหยุด ร้องเหมือนจะขาดใจ และไม่ยอมเลิกร้องไห้ง่ายๆ สุดท้ายก็หนีไม่พ้น ต้องกลับมาให้เค้ากินจากเต้าแล้วนอนต่อไปเหมือนเดิม

คุณแม่ต้องรู้  ลูกเป็นส่าไข้ มีอันตรายมั้ย และต้องดูแลรักษาอย่างไร?

วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ จุกนมหลอก

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของดิฉัน ก็พอจะแนะนำได้บ้าง เกี่ยวกับ วิธีที่จะทำให้ ลูกหย่านมแม่ อย่างที่ได้ผลมากที่สุด มีทั้งวิธีแบบโบราณ และวิธีสมัยใหม่ ซึ่งพอจะแนะนำได้ดังนี้ค่ะ

วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ อย่างได้ผล

1. ใช้จุกนมหลอก อันนี้เป็นวิธีการที่ง่าย ได้ผลดี ได้ผลเร็ว แต่ก็ส่งผลข้างเคียงในแง่ลบเยอะพอสมควร การให้ ลูก ดูดจุกนมหลอกแทนนั้น ทำได้ง่ายมาก และ เด็ก ก็จะติดเร็วมากเช่นกัน ได้ผลเร็วที่สุด แต่ก็ส่งผลในด้านลบคือ ลูก จะหันมาติด จุกหัวนมหลอก แทน และหากทำให้เลิกติด หัวนมหลอก ไม่ได้ ก็มีโอกาสที่จะปากเจ่อ และ ฟันจะยื่นออกมา หรือเรียกว่า ฟันเหยิน นั่นเอง ดังนั้นปัจจุบันนี้ วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ ด้วยวิธีการใช้จุกนมหลอก จึงไม่ค่อยจะได้รับความนิยมจาก คุณแม่ สมัยใหม่ กันสักเท่าไหร่แล้ว เพราะคำนึงถึงผลกระทบมากกกว่า ประโยชน์ที่จะได้รับ

คุณแม่ต้องรู้  เรื่องจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การตั้งครรภ์

2. รอจนลูกเบื่อไปเอง เมื่อนมหมดเต้าแล้ว อันนี้เป็นวิธีที่ยากหน่อย สำหรับ คุณแม่ ที่มีเวลาอยู่บ้าน เลี้ยงลูก ได้เต็มเวลา จะเลือกใช้วิธีนี้ คือรอให้เค้ารู้ว่า ดูดไปก็เท่านั้น ไม่มีน้ำนมออกมาแล้ว เค้าก็จะเบื่อ และเลิกดูดไปเอง ซึ่งมักจะใช้เวลาในการเลิกอยู่ที่ราวๆ ช่วงที่เค้าอายุได้ 1 ปี 6 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งก็นานมากทีเดียว ในบางราย อาจจะกินเวลามากกว่านั้น 3 – 4 ปี ก็มีให้เห็นเช่นกัน แต่สำหรับ คุณแม่ ที่ต้องทำงานประจำ อาจจะรอให้นานถึงขนาดนั้นไม่ได้ ก็คงต้องใช้วิธีต่อไป ที่ออกแนวหักดิบสักหน่อย

3. ใช้ของขม หรือของเปรี้ยวทาที่หัวนม ถ้าตามแบบที่โบราณใช้ ก็คือ จะใช้ บอระเพ็ด มาทาที่หัวนม พอเด็กดูด ก็จะรู้สึกขมจนติดปาก และเข็ดจนไม่อยากมาดูดนมจากเต้าอีก วิธีนี้ นิยมใช้กันในสมัยโบราณ เมื่อลองมาพิจารณา และลองใช้ดู ก็ได้ผล แต่ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กที่ยังเล็กเกินไป ควรใช้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป จะดีที่สุด ยิ่งโตมาก ก็ยิ่งดี เพราะความขมของ บอระเพ็ดนั้น มันขมติดปากยาวนานมาก มันจะกลายเป็นการหักดิบ ที่ทรมานเค้ามากเกินไป เพราะมันจะรู้สึกขมปากไปตลอดหลายชั่วโมง แต่ถามว่าได้ผลมั้ย ในหลายรายที่ได้ลองสอบถามดู บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้ผลดีค่ะ แต่แม่อาจต้องใจแข็งนิดนึงนะคะ เพราะลูกอาจจะร้องนานนิดนึง ด้วยความรู้สึกว่า ขมปาก อะไรประมาณนั้น

คุณแม่ต้องรู้  เจลแปะลดไข้ ตัวร้อน ของจำเป็นที่ คุณแม่ ต้องมีติดบ้านเอาไว้เลย

วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ ได้ผลดีที่สุด

อันที่จริงแล้ว ถ้าสังเกตดีๆ ก็จะพบว่า ถึงแม้ ลูก จะไม่ได้ดูดนมจากเต้า เค้าก็นอนหลับเองได้ ไม่จำเป็นว่าเค้าจะต้องดูดนมจากเต้า แล้วหลับเสมอไป อย่างที่เวลา น้องเนปจูน เค้าอยู่กับคุณพ่อเค้า เค้าก็หลับของเค้าเองได้ โดยที่ไม่ต้องดูดเต้านมคาปากเอาไว้จนเผลอหลับไป แต่พอเวลามีดิฉันอยู่ แน่นอนว่า เค้าต้องรบเร้า ขอดูดนมจนหลับไปทุกครั้ง นั่นเป็นเพราะว่า ความเคยชิน และต้องการความอบอุ่น เหมือนอย่างที่เคยเป็นเท่านั้น ไม่ใช่ว่า เค้าหิว อยากกินนมนอนหรอกนะคะ จะเรียกว่า เป็นการอ้อนก็ว่าได้ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนว่า พฤติกรรมของเค้านั้น ทำเพื่ออะไร แล้วก็ค่อยมาแก้ปัญหากัน แต่ดิฉันบอกได้เลยว่า น้องเนปจูน นั้น กว่าจะทำให้หยุดติดนมเต้า ก็ยากมากๆ ต้องใช้วิธีทำให้ ลูกหย่านมแม่ หลายวิธีเลยทีเดียว แต่เด็กบางคน ก็เลิกง่ายนะคะ สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับตัวลูกของเราด้วย ว่าเค้าเป็นอย่างไร จะหย่านมได้ง่าย หรือหย่านมได้ยาก ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของลูกค่ะ

ถ้าไม่อยากให้ ลูกติดนมเต้า แนะนำว่า ควรจะป้องกันเอาไว้แต่เนิ่นๆ แนะนำให้ไปอ่านในบทความ วิธีป้องกันไม่ให้ ลูกติดนมเต้า จนกลายเป็นปัญหา ดูได้เลยค่ะ

ใครที่อยากจะเพิ่มเติม หรือเสนอความเห็นอะไร ก็เชิญเสนอความเห็นได้ที่ด้านล่างนี้เลยนะคะ หรือจะเข้าไปพูดคุยกันที่แฟนเพจ แม่เนปจูน ก็ได้นะคะ