อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ กับ ครรภ์เป็นพิษ

27613
แบ่งปัน

เนื่องจากว่า ได้มี คุณแม่มือใหม่ บางท่าน ได้ส่งข้อความ มาทางแฟนเพจ เพื่อสอบถาม เกี่ยวกับ ครรภ์เป็นพิษ ในช่วงที่มี อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ว่าเป็นอย่างไร จะสังเกตอาการ ได้อย่างไรบ้าง วันนี้ ดิฉันก็เลยจะนำความรู้ เกี่ยวกับ อาการ ครรภ์เป็นพิษ มาฝากกันค่ะ ถือว่า เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็น ต้องรู้นะคะ เพราะอาการ ครรภ์เป็นพิษ นั้น ถือว่าเป็น ภาวะอันตรายมาก และเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด จากสถิติ ขององค์การอนามัยโลก พบว่า คุณแม่ ที่ ตั้งท้อง จากทั่วโลก มีการเกิด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้สูงถึง 2 – 8 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวน 500,000 ราย และเสียชีวิต เพราะภาวะครรภ์เป็นพิษนี้ ถึง 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ เลยนะคะ ถ้าคำนวนออกมาเป็นตัวเลข ก็มีจำนวนที่สูง จนน่าตกใจเลยทีเดียว

ก่อนจะไปถึงตรงรายละเอียด เกี่ยวกับ ภาวะครรภ์เป็นพิษ นั้น แม่น้องเนปจูน อยากจะขอพูดถึง พัฒนาการลูกน้อย ในช่วงที่มี อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ สักหน่อย ว่ามี พัฒนาการ อย่างไรบ้าง จะได้รู้ว่า ช่วงนี้ ลูก ของเรา มีขนาดประมาณเท่าไหร่ และเริ่มมี พัฒนาการ อย่างไรบ้างแล้ว

พัฒนาการทารกในครรภ์ ช่วง อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ( 8 เดือนครึ่ง )

ในช่วงนี้ ลูกน้อยในครรภ์ จะมีขนาดประมาณ 18.5 นิ้ว หรือ ประมาณ ลูกแคนตาลูป ส่วนน้ำหนักตัว จะอยู่ที่ประมาณ 2.4 กิโลกรัม ส่วนมากแล้ว อวัยวะต่างๆ จะพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นปอด ใบหน้าของ ลูกน้อย จะมีสัดส่วนที่ชัดเจนขึ้น เพราะมีการสร้าง ชั้นไขมัน ใต้ผิวหนัง ขึ้นมาแล้ว ลูก จะสามารถ มองเห็นแสง จากภายนอกได้ จึงเรียนนรู้ว่า เวลาไหน กลางวัน หรือ กลางคืน และสามารถ ปรับตัวให้เข้ากับ ช่วงเวลานั้นๆ ได้ เช่น การนอน การตื่น นอกจากนี้ ยังสามารถ จดจำ เสียงเพลง ที่มีทำนองง่ายๆ ไม่ซับซ้อนได้ จึงแนะนำว่า คุณแม่ ควรจะร้องเพลง ให้น้องเขาฟังได้แล้วนะคะ

คุณแม่ต้องรู้  อยากคลอดลูกง่าย คลอดเอง ไม่ต้องผ่า ทำยังไง มีวิธีมาฝากกันค่ะ

ร่างกายของ คุณแม่ ในช่วงนี้ ต้องบอกเลยว่า จะมีอาการแปลกๆ เกิดขึ้น โดยจะเริ่มมีอาการ สายตาสั้นขึ้น โฟกัสภาพ ไม่เหมือนปกติ มองเห็นภาพเบลอๆ ชา มือ เท้า ข้อมือ ข้อเท้า และจะเริ่มมี อาการบวมมากขึ้น ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย และอ่อนเพลีย ที่สำคัญ อาจรู้สึก เหมือนมีแรงกด บริเวณส่วนล่าง ของเชิงกราน เนื่องจาก ลูกน้อย กำลังเตรียมตัวล่วงหน้า สำหรับการคลอด คุณพ่อ ก็เริ่มเตรียม จัดกระเป๋า เตรียมข้าวของใช้ ที่จำเป็น สำหรับการคลอด ได้แล้วนะคะ

ทีนี้ ก็กลับมาพูดถึง อาการครรภ์เป็นพิษ กันต่อบ้าง สำหรับสาเหตุ ของภาวะ ครรภ์เป็นพิษ นั้น เชื่อว่า อาจเกิดจาก ความผิดปกติ ในเซลล์รก ทำให้การไหลเวียนโลหิต ระหว่างรก และมดลูก น้อยลง และไม่เพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต ของ ลูกน้อยในครรภ์

สำหรับภาวะความเสี่ยง ที่อาจจะทำให้ คุณแม่ มีโอกาสเจอกับ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้นั้น ก็อาจจะเกิดจาก ภาวะดังต่อไปนี้

คุณแม่ต้องรู้  อายุครรภ์ 2 สัปดาห์ ควรดูแลตัวเองและ ทารกในครรภ์ อย่างไร

1. คุณแม่ เป็นโรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะเลือดจับตัวเป็นก้อน

2. มีพี่น้องใกล้ชิด เช่น แม่ พี่สาว น้องสาว ป้า น้า หรือ ยาย ที่เคยเกิด ภาวะครรภ์เป็นพิษ

3. ตั้งครรภ์แรก หรือ ตั้งครรภ์ ครั้งแรก กับสามีใหม่

4. อายุน้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 35 ปี

5. ตั้งครรภ์แฝด

6. เคยเกิดภาวะ ครรภ์เป็นพิษ ในครรภ์ก่อนหน้า

7. ภาวะอื่นๆ เช่น เครียดจัด ขาดสารอาหาร หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพิษ

สำหรับอาการ ที่จะเป็นตัวบ่งบอก หรือส่งสัญญาณว่า มีความเสี่ยง หรือกำลังจะเกิดอาการ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่คุณแม่ สามารถสังเกตได้ง่ายๆ นั้นก็คือ หากมีอาการบวม โดยเฉพาะใบหน้า มือ ร่วมกับ อาการปวดหัว เวียนหัว หน้ามืด เจ็บหน้าท้องส่วนบน น้ำหนักขึ้นเร็วอย่างผิดปกติ ควรจะรีบไปพบแพทย์ โดยทันที เพราะอาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณ ของครรภ์เป็นพิษได้

ครรภ์เป็นพิษ แบบไม่รุนแรง

ในกรณีที่ คุณแม่ เกิดภาวะ ครรภ์เป็นพิษ แบบไม่รุนแรงนั้น ที่ อายุครรภ์ ไม่ถึง 37 สัปดาห์ แพทย์ มักจะคอยให้ติดตามผล และให้ คุณแม่ คอยวัด และบันทึก ความดันโลหิต ที่บ้าน อย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหากพบว่า คุณแม่ เกิดภาวะ ครรภ์เป็นพิษ ที่ อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น แพทย์ อาจจะตัดสินใจ เร่งคลอด โดยเฉพาะกรณี ที่ปากมดลูก เริ่มบาง และเปิดบ้างแล้ว หรือหากเร่งคลอดแล้ว ไม่สามารถคลอดได้ ก็อาจจะต้องทำการ ผ่าคลอด ในที่สุด

คุณแม่ต้องรู้  เวลาตั้งครรภ์ คุณหมอจะตรวจ คุณแม่ เรื่องอะไรบ้าง

ครรภ์เป็นพิษ แบบรุนแรง

ในกรณีที่เป็นแบบรุนแรง จำเป็นมากๆ ที่ คุณแม่ ต้องอยู่ในความดูแล ของแพทย์ อย่างใกล้ชิด โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณแม่ ต้องนอนโรงพยาบาล จนกว่าจะคลอด และต้องได้รับ แมกนีเซียมซัลเฟต เพื่อป้องกัน การชัก และยา สำหรับลดความดันโลหิต หาก คุณแม่ มี อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น อาจจะต้อง ทำการเร่งคลอด หาก อายุครรภ์ น้อยกว่า 34 สัปดาห์ แพทย์จะให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อช่วยเร่ง การเจริญเติบโต ของปอดของลูก ก่อนจะทำการเร่งคลอด หรือ ผ่าคลอด

วิธีป้องกัน ภาวะครรภ์เป็นพิษ นั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ ฝากครรภ์ ตั้งแต่เนิ่นๆ และพบแพทย์ โดยสม่ำเสมอ ตัว คุณแม่ เอง อย่าเครียด และรับประทาน แต่อาหารที่มีประโยชน์ ทำจิตใจ ให้ผ่องใสเข้าไว้ ก็พอจะช่วยป้องกันได้ แต่ด้วยความที่ สาเหตุของ ครรภ์เป็นพิษนั้น ยังไม่แน่นอน การดูแลครรภ์ อย่างดีที่สุด จึงเป็นวิธีป้องกัน ที่ดีที่สุด ดังนั้นอย่าห่างแพทย์นะคะ มีอะไรก็หาคุณหมอเอาไว้ก่อน จะดีที่สุด