เมนูอาหารสำหรับทารก ในแต่ละวัย ควรให้ทานอะไรบ้าง เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน

8210
แบ่งปัน

หลังจากในบทความที่แล้ว แอดมินได้แนะนำ เกี่ยวกับ สารอาหาร ที่จำเป็นต้องมีอยู่ใน อาหารวัยทารก ไปแล้ว คราวนี้ แอดมินจะมายกตัวอย่าง ให้เห็นภาพกันชัดๆ ไปเลยว่า เมนูอาหารสำหรับทารก ในแต่ละวัยนั้น ควรทานอาหารอะไรบ้าง และทานในปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสมกับวัย ไม่ทำให้อ้วนเกินไป หรือผอมเกินไป จนขาดสารอาหาร ก่อนจะเข้าเรื่องของเมนูอาหาร แอดมิน ขอแนะนำเรื่องของ การกินนมผง ของเด็กทารก ที่คุณแม่ ไม่มีน้ำนมให้สักนิดนึง คือ นมผงเนี่ย ถ้าให้เด็กทารก กินแบบไม่มีกำหนดปริมาณ คือ หิวเป็นป้อน ร้องเป็นยัดเข้าปาก แบบนี้ จะทำให้เด็ก มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น กว่ามาตรฐานกำหนด ให้ควรจะเป็น หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เด็กจะอ้วน แต่คนไทยเรา ส่วนใหญ่ จะคิดว่า เด็กที่อ้วนจ้ำหม้ำ คือเด็กที่สมบูรณ์ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว มันไม่ใช่เลยค่ะ เด็กที่ตัวอ้วน ก็คือ เด็กที่เป็น โรคอ้วน ดังนั้น ถ้ารักลูก หวังดีกับลูก ต้องให้นมผง ในปริมาณที่พอดี ตามที่มาตรฐานกำหนด ในแต่ละวันนะคะ อย่าให้มากเกินไป มันไม่เหมือนกับ นมแม่ ที่สามารถ ให้ได้มากเท่าไหร่ก็ได้ ตามที่ลูกต้องการ ไม่มีปัญหา ไม่มีผลข้างเคียง แต่มีคุณแม่ จะผลิตน้ำนมออกมาไม่ทัน และไม่พอ สำหรับลูกมากกว่า อันนี้ แอดมินขอฝากเอาไว้ด้วยนะคะ เห็นมาเยอะมากๆ เลย เด็กตัวอ้วนเนี่ย สงสารเด็กค่ะ อวัยวะภายในของเค้า คิดดูแล้วกันค่ะ ว่าจะเป็นยังไง?

คุณแม่ต้องรู้  วิธีแปรงฟันให้ลูก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ ต้องทำอย่างไร?
เมนูอาหารสำหรับทารก
อันนี้ เป็นเมนูอาหารของน้องเนปจูนนะคะ หยิบใส่ปากเองเลย

เมนูอาหารสำหรับทารก ในแต่ละช่วงอายุ

อายุ 0 – 6 เดือน

ทารก อายุตั้งแต่ แรกเกิด จนถึง 6 เดือน ต้องให้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว อย่าเพิ่งใจร้อน โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรก อย่าให้อาหารกับทารกโดยเด็ดขาด เพราะมันไม่จำเป็นเลย ผู้ใหญ่บางท่าน อาจจะแนะนำว่า ให้กล้วยน้ำว้าบดได้แล้ว แต่ในความเป็นจริง นมแม่ ดีที่สุดค่ะ จากนั้น ในเดือนที่ 5 หรือ 6 ค่อยเริ่มให้ อาหารเสริมบ้าง เนื่องจาก กระเพราะเริ่มใหญ่ขึ้น เริ่มมีการใช้พลังงานมากขึ้น นมแม่ เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่อยู่ท้อง เพราะนมแม่ ก็ดูดซึมเร็วอยู่แล้วด้วย แต่การให้นั้น ควรเริ่มอาหารทีละอย่าง และทีละน้อยๆ ก่อน โดยเริ่มที่ 1 ช้อนเล็กๆ แค่นั้นพอ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้น ถ้าทารก ไม่ชอบ หรือไม่กิน ก็ให้หยุด และเว้นเอาไว้ 3 – 4 วัน แล้วค่อยกลับมาเริ่มป้อนใหม่ จะดีที่สุดค่ะ

อายุ 6 เดือน

ให้ทารก เริ่มกินอาหาร 1 มื้อ ( นมแม่ ยังคงเป็นอาหารหลักอยู่ ) โดยเมนูอาหารที่แนะนำได้แก่ ข้าวบดละเอียด ประมาณ 3 ช้อนกินข้าว, ไข่แดงบด ประมาณครึ่งฟองก็พอ, ตับบด หรือปลาบด 2 ช้อนกินข้าว, ผักบด และ ผลไม้สุก เช่น กล้วยน้ำว้า

คุณแม่ต้องรู้  ลูก 4 เดือน ไม่สบายครั้งแรก ดูแลลูก ยังไง

** สำหรับผักบดนั้น ส่วนใหญ่ จะแนะนำให้เริ่มต้นจาก แครอทต้มสุก เอามาบด จะทานง่ายที่สุดค่ะ

อายุ 7 เดือน

ยังคงให้กินนมแม่เป็นหลัก แต่มีการเปลี่ยนเมนูอาหารบ้าง และเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น โดยเมนูแนะนำได้แก่ ข้าวบด ไข่ทั้งฟอง เนื้อสัตว์บด ( เลือกตามสะดวก ) ผักบด และผลไม้สุก

อายุ 8 – 9 เดือน

เริ่มเพิ่มจำนวนมื้ออาหาร ให้มากขึ้น จาก 1 มื้อ เพิ่มมาเป็น 2 มื้อ แต่ยังคงให้อาหาร รูปแบบเดียวกับเมื่อตอน 7 เดือน แต่เพิ่มปริมาณให้มากขึ้น และทำอาหาร มีความอ่อนนุ่มมากขึ้น จะได้เคี้ยวง่ายขึ้น และย่อยง่ายขึ้นด้วย

อายุ 10 – 12 เดือน

ยังคงกินนมแม่เป็นหลักเหมือนเดิม แต่เพิ่มจำนวนมื้ออาหาร เป็น 3 มื้อ เหมือนกับผู้ใหญ่ รูปแบบของอาหาร ยังคงให้เหมือนกับเมื่อเดือนก่อน โดยเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น และเพิ่มความหลากหลาย ให้กับอาหาร อย่าให้ลูกทานอะไรแบบซ้ำซาก จำเจ และเพิ่มความหยาบ ให้กับเนื้ออาหาร เพื่อให้ลูกได้ฝึกเคี้ยวบ้าง โดยอาจจะบดหยาบๆ หรือใส่วัตถุดิบที่หั่นเป็นลูกเต๋าลงไป เช่น แครอทต้มสุก หั่นเป็นลูกเต๋า เป็นต้น

อายุ 1 – 1 ขวบครึ่ง

ให้ลูกเริ่มทานอาหาร 3 มื้อ และนม 3 มื้อ โดยอาหารในแต่ละมื้อ ให้มีสารอาหาร ครบ 5 หมู่ เหมือนกับ อาหารของผู้ใหญ่ โดยต้องเป็นอาหารปรุงสุก และเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม ให้เคี้ยวได้บ้าง การรับประทาน ก็ให้ลูก หัดตักขึ้นมาทานเอง ซึ่งในช่วงแรกๆ อาจจะหกเลอะเทอะหลายครั้งบ้าง ก็ต้องปล่อยให้เป็นแบบนั้น เพื่อให้เด็ก รู้จักช่วยตัวเอง ในการตักอาหาร รวมทั้งฝึกให้เด็ก นั่งโต๊ะกินร่วมกันกับพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัว เพื่อเป็นการฝึกวินัยไปด้วยในตัวค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  โรคไข้หวัดใหญ่ ในเด็ก และวัคซีนป้องกัน สำคัญแค่ไหน

เมนูอาหารสำหรับทารก ไม่จำเป็น ต้องทำออกมา ตามนี้เป๊ะๆ นะคะ แต่ขอให้มี ข้าว ไข่ เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ ให้ครบ 5 อย่างนี้ จะดีที่สุดค่ะ ส่วนเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ แต่ละท่าน จะใช้ชนิดไหน หรือแบบใด ก็เอาตามที่สะดวกเลยค่ะ แนะนำว่า ควรให้ลูกน้อย ทานให้หลากหลายนะคะ เพื่อโตขึ้นมา จะได้ไม่แพ้อาหาร อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งรีบร้อน ให้อาหารบางอย่าง ที่เสี่ยงต่อการแพ้ได้ เช่น อาหารทะเล ต้องรอให้ ทารก มีอายุมากสักหน่อย ประมาณ 1 ขวบ ถึงค่อยให้ทาน จะดีที่สุดค่ะ เพราะในอาหารทะเลบางอย่าง ถ้าไม่ใช่แบบที่ยังเป็นๆ แล้วเอามาทำ อาจเสี่ยงเจอกับสารเคมีได้เช่น สารฟอร์มาลีน ที่เอามาแช่ เพื่อไม่ให้เสียง่าย สารเหล่านี้ แม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเด็กทารกทานเข้าไปล่ะก็ มีโอกาสที่จะเกิดการแพ้ได้สูงมากๆ ค่ะ ระวังกันด้วยนะคะ สำหรับเรื่องของ การแพ้อาหารในเด็ก แอดมินจะเอามานำเสนอให้อ่านกันแน่นอนค่ะ ปูเสื่อรออ่านกันได้เลยค่ะ