โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบในเด็ก ดูแลได้ถ้าเข้าใจ

5347
แบ่งปัน

โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ นั้น เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็กอยู่เสมอ ตั้งแต่เด็กเล็ก เด็กโต เป็นกันได้หมด แม้กระทั่ง น้องเนปจูนเอง ก็ไม่อาจจะหนีพ้น แม้จะดูแลกันดีแค่ไหน แต่ก็มีโอกาสเป็นกันได้ ซึ่งน้องเนปจูนเอง ก็เป็นตั้งแต่เล็กๆ ตั้งแต่ยังไม่ถึงขวบ ก็เป็นแล้ว โรคนี้ มีสาเหตุเกิดจาก ไวรัส ที่เข้าไปในระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย แล้วไปทำให้เกิดการอักเสบ ของเนื้อปอด ส่วนปลายสุด หรือ ทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมเล็กๆ ทำให้การแลกเปลี่ยนอากาศ ภายในถุงลมนั้นไม่ดี แน่นอนว่า การเข้าไปทำให้ ปอดอักเสบนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กทารก ที่เป็นเด็กเล็กเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับ ผู้ป่วย ที่เป็นผู้ใหญ่ หรือสูงอายุอีกด้วย เรียกได้ว่า โรคนี้ มีโอกาสเป็นกันได้ทุกคน อยู่ที่ว่า ใครจะทรุดหนักกว่ากัน ซึ่งนั่นก็คืออยู่กับ อายุ และภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยิ่งเป็นเด็กทารกๆ เล็กๆ ก็ยิ่งมีอาการทรุดหนัก และต้องดูแลอย่างใกล้ชิด มากกว่าเด็กโตแน่นอน โรคนี้ ไว้ในไม่ได้นะคะ ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เหมือนกัน ถ้าไม่ได้รับยา และการดูแลอย่างถูกต้อง ซึ่งในส่วนนี้ บอกเลยค่ะว่า คุณพ่อ คุณแม่ ทุกคน ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เอาไว้

โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบในเด็ก ดูแลได้ถ้าเข้าใจ

สาเหตุ และอาการของ โรคปอดบวม

อย่างที่บอกไปแล้ว สาเหตุจริงๆ ก็คือเจ้าไวรัส แต่ระบุตัวไม่ได้หรอกค่ะ เพราะไวรัสนั้น มีหลายล้านสายพันธุ์ ไม่รู้ว่าโดนตัวไหนเข้าไป สาเหตุหลักๆ ก็เกิดจากการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ในขณะที่ร่างกายอ่อนแอ และอีกสาเหตุก็คือ เกิดจากการสำลักอาหาร และนมอย่างรุนแรง ส่วนเรื่องของการ โดนแดด ลม ฝน หรือ อากาศเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาวนั้น เป็นเพียงปัจจัย ที่เข้ามาทำให้ร่างกายอ่อนแอ และทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ก็เท่านั้น แต่อากาศาเปลี่ยน ไม่ใช่สาเหตุโดยตรง ที่ทำให้ป่วยเป็นโรคนี้

คุณแม่ต้องรู้  อุ้มลูกหลับ ดีหรือไม่ดีกันแน่

อาการของโรค ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ จะมีไข้สูง แล้วไม่ลด ต่อให้กินยาลดไข้เข้าไป ไข้ก็ยังไม่ลดอยู่ดี เนื่องจาก การอักเสบของถุงลมในปอด ยังไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ ยังมีอาการไอ และมีเสมหะเหนียวข้น รวมทั้ง หอบ เนื่องจาก ร่างกายของเด็ก จะได้รับออกซิเจน ไม่เพียงพอ จึงทำให้หายใจเร็วขึ้น

[mks_pullquote align=”left” width=”300″ size=”24″ bg_color=”#fc6d00″ txt_color=”#ffffff”]โรคนี้ มีการติดต่อโดยตรง ผ่านระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หรือ จามรดกัน[/mks_pullquote]

ดังนัั้นต้องระวังให้ดีนะคะ ไม่อย่างนั้น พอน้องหาย คุณพ่อ คุณแม่ ก็มาเป็นต่ออีก ไม่สนุกแน่นอนค่ะ เป็นอันไม่จบสิ้นสักที

ภัยจากโรคแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ หากป่วยเป็นโรคนี้แล้ว ไม่ได้รับการดูแล หรือรักษาให้ตรงกับโรค ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น หนองในช่องปอด, ฝีในปอด, ติดเชื้อในกระแสเลือด, และหลอดลมส่วปลาย โป่งพอง ซึ่งอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้เลยนะคะ

คุณแม่ต้องรู้  โรคไอพีดี ในเด็กเล็ก พ่อแม่มือใหม่ เข้าใจโรคนี้ดีแค่ไหน

[mks_pullquote align=”right” width=”300″ size=”24″ bg_color=”#fc6d00″ txt_color=”#ffffff”]โรคนี้ แม้จะมีอันตรายที่ร้ายแรงมาก แต่ถ้าได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ตรงจุด ก็จะหายขาดได้[/mks_pullquote]

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณพ่อ และคุณแม่ จะสังเกตเห็นอาการ และพาไปพบแพทย์ ทันทีหรือไม่ ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ มีความเข้าใจ และสังเกตอาการเป็น ก็จะช่วยให้การรักษา เกิดได้เร็วขึ้น แต่ถ้าเห็นว่าเป็นแค่ หวัดธรรมดา แล้วไม่รักษา อาจจะลุกลาม จนร้ายแรง กลายเป็นอันตรายได้ในที่สุด

วิธีการรักษา โรคปอดอักเสบ ในเด็ก

ในรายที่มีอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ ประเภท ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งอาจจะเป็นแบบกิน แบบฉีด หรือ แบบพ่น แล้วแต่ว่า ติดเชื้อตรงส่วนไหน ของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งยาตัวนี้ จะช่วยเข้าไปฆ่าเชื้อไวรัส และเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นต้องปฏิบัติตาม และให้ในปริมาณ ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ ยังต้องคอยเช็ดตัว เพื่อไม่ให้ไข้สูงเกินไป เพราะอาจจะทำให้เด็กชักได้ ถ้าอาการป่วยไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ถ้า พ่อแม่ ไม่มีเวลา ก็อาจให้นอนโรงพยาบาล เพื่อให้หมอ และพยาบาล ช่วยดูแลได้

คุณแม่ต้องรู้  นมเด็กแรกเกิด ควรให้แบบไหนดี นมผง หรือ นมกล่อง

ในรายที่เด็ก มีอาการหนักมาก อาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ ดูแลด้วยการให้ ออกซิเจน และให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด เนื่องจาก เด็กมีไข้สูง มีเสมหะมาก จนกินอะไรไม่ได้

วิธีการป้องกัน ไม่ให้ลูกเป็น โรคปอดอักเสบ

  • ไม่ให้ลูกอยู่ใกล้ผู้ที่เป็นหวัด หรือเป็นโรคปอดบวม สังเกตง่ายๆ ถ้ากระแอมไอ หรือน้ำมูกไหล อย่าให้ลูกเข้าใกล้เลย
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่าให้กินแต่ ขนม เพียงอย่างเดียว ต้องให้กินผัก และผลไม้ด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ โดยให้นอนอย่างน้อยๆ วันละ 6 – 8 ชม.
  • ให้ร่างกายลูก อบอุ่นอยู่เสมอ อย่าให้หนาว หรือไปถูกอากาศที่มีเชื้อโรค หรือฝุ่นละออง
  • อยู่ในบ้าน ก็ต้องปรับปรุง ให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี แสงส่องถึง
  • อย่าพาลูกเข้าไปในที่ที่มีคนอยู่มากๆ เช่นในตลาด ในช่วงที่มีการระบาดของโรคหวัด อันนี้สำคัญมากๆ

โรคนี้ ย้ำว่า มีอันตรายมากๆ นะคะ ยิ่งในเด็กเล็กๆ อย่างเช่น ทารกแรกเกิด ยิ่งอันตรายมากเข้าไปอีก เพราะภูมิต้านทานของเค้า ยังต่ำอยู่ อาการของโรค จะรุนแรงมากกว่าเด็กโต อาจรุนแรงถึงขั้น หายใจติดขัด จนหายใจไม่ออก และเสียชีวิตในขณะที่หลับได้เลย ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ในช่วง 6 เดือนแรก จะไม่นิยมพาลูกออกไปไหนเลย เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสจากคนอื่นๆ และต้องระวัง ญาติพี่น้องที่จะมาอุ้มด้วย เพราะนั่นแหละ ตัวนำพาเชื้อมาหาลูกเราเลย