9 พัฒนาการลูกน้อย ที่ทำให้ พ่อแม่ หัวใจพองโต

34118
แบ่งปัน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า รอยยิ้มแรก ของลูก ในช่วง 1 – 2 เดือนแรก หลังคลอด คือ พัฒนาการลูกน้อย ที่ทำให้คนเป็น แม่ อย่างเรา รู้สึกตื่นเต้น และดีใจมากๆ เพราะนั่นหมายถึง การที่ ลูกรัก ของเรา รู้จักควบคุมกล้ามเนื้อ และสามารถโต้ตอบ สื่อสารออกมาได้ว่า มีความสุขใจมากๆ โดยเฉพาะตอนที่เค้า เห็นคนที่คุ้นหน้า อย่าง พ่อ แม่ หรือ ปู่ ย่า และได้ยินเสียงของแม่ หรือ พ่อ แล้วแค่ยิ้มเนี่ย มันสำคัญอย่างไร? การยิ้ม การหัวเราะ การสบตา หรือ การส่งเสียง ล้วนเป็น พัฒนการสำคัญ ของลูกน้อย ที่จะส่งสัญญาณ ให้พ่อแม่รู้ว่า ลูก ของเรา เติบโตขึ้นไปแค่ไหนแล้ว โตขึ้นอย่างสมวัย ไม่มีปัญหาในเรื่องของการ พัฒนาการใดๆ เพราะในช่วง 3 เดือนแรกนั้น เรียกได้ว่า เป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่มีผลต่อ พัฒนาการหลักๆ ของ ลูกน้อย เป็นอย่างมาก พัฒนาการที่ว่า ก็ได้แก่ การสบตาของลูก กับแม่ หรือกับคนอื่นๆ การยิ้มตอบ เวลาเล่นด้วย หรือลูกอารมณ์ดี หรือร้องเสียงอืออา สิ่งเหล่านี้ ล้วนทำให้ คนเป็นพ่อ และ แม่ รู้สึกตื่นเต้นเอาเสียมากๆ

พัฒนาการลูกน้อย ยิ้มตอบ

9 พัฒนาการลูกน้อย ที่สำคัญ

1. สบสายตา ซึ่งจะเริ่มในช่วงอายุ ระหว่าง 6 – 8 สัปดาห์ โดยนี่จะเป็น พัฒนาการแรก ที่พ่อแม่ ควรจะใส่ใจ เพราะนอกจากจะบอกได้ว่า ลูกรัก ของเราสามารถมองเห็น และมองตามเราได้หรือไม่แล้ว ยังบอกได้ถึงการเจริญเติบโต ของระบบประสาทในตาอีกด้วย ซึ่งในเด็กบางคน อาจจะไม่เป็นไปตามนี้ บางคนอาจจะมีพัฒนาการ ในด้านการมองเห็นที่ช้า หากพบว่า ลูกอายุ 3 เดือน แล้ว แต่ยังไม่ยอมสบตา พ่อแม่ หรือสบตากับคนรอบข้าง ให้รีบพาไปพบหมอโดยทันที เพื่อตรวจดูว่า ลูกน้อย ของเรานั้น มีปัญหาทางสายตา หรือเป็นโรคอะไรหรือไม่

วิธีการสังเกต ว่าลูกสบตาหรือไม่ ให้สังเกต ตอนที่เค้ากินนมอิ่มแล้ว หรืออยู่ในสภาวะปกติ อย่าไปสังเกต ตอนที่เค้า กำลังเหนื่อย หิว หรือ กำลังตื่นตัวอย่างเต็มที่อยู่ เพราะถ้าทำตอนนั้น จะเห็นว่า ลูกไม่สบตาเราแน่ๆ ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  10 สิ่งที่ คุณแม่ ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับ ทารกแรกเกิด เลย

2. ลูกยิ้มตอบ จะพบในช่วงอายุ 6 – 8 สัปดาห์ เช่นกัน อันนี้ต้องเข้าใจความแตกต่างก่อนนะคะ ว่ายิ้มตอบในที่นี้ หมายถึง ลูกยิ้มตอบให้เรา เมื่อเรายิ้มให้กับลูก เป็นการโต้ตอบกัน ไม่ใช่ลูกนอนเฉยๆ แล้วยิ้ม หรือยิ้มเล่นๆ ออกมาเอง ตั้งแต่ในช่วง สัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด เพราะเมื่อเรายิ้มให้ แล้วลูกยิ้มตอบนั้น เป็นการบ่งบอกเลยว่า ลูกน้อย ของเรา เติบโตขึ้นมากแล้ว และระบบสมองหลายๆ ส่วนทำงานได้ดี รวมทั้งระบบสายตาของเค้า ก็เริ่มมองเห็นในระยะใกล้แล้ว จึงทำให้เห็นว่าเรายิ้มให้

วิธีการสังเกต ก็ทำเช่นเดียวกับ การสังเกต การสบสายตา ควรสังเกตในยามปกติ ตอนลูกสงบ และอารมณ์ดี แต่ถ้าพบว่า ลูกมีอายุได้ 3 เดือนแล้ว ยังไม่ยิ้มตอบ แนะนำให้รีบไปพบ กุมารแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการ และตรวจสอบสายตา ว่ามีปัญหาหรือไม่

พัฒนาการเด็ก อ้อแอ้

3. ลูกร้องส่งเสียงอืออา จะพบในช่วงอายุราว 8 สัปดาห์ เป็นต้นไป ตั้งแต่หลังคลอดเป็นต้นมา การสื่อสารของลูก ที่ส่งถึงพ่อแม่ ก็คือ การส่งเสียงร้องไห้ เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเค้า อายุได้ 8 สัปดาห์ หรือประมาณ 2 เดือน ลูกรัก ของเรา จะเริ่มส่งเสียงอืออา ซึ่งเป็นผลมาจาก พัฒนาการของ ระบบสมองส่วนหน้า ที่มีหน้าที่ควบคุมการพูด ที่พัฒนาดีขึ้น ทำให้ลูกเรา ส่งเสียงออกมาได้นั่นเอง เรียกได้ว่า ถ้าลูกอายุ 2 เดือน แล้วพบว่า ลูกมีพัฒนาการครบ ทั้ง สบสายตา ยิ้มตอบ และส่งเสียงอืออาได้ ก็ถือว่า ลูกรัก มีพัฒนาการ ครบถ้วน และเหมาะสมกับวัย มีระบบสายตา ระบบการได้ยิน และระบบสมองที่ใช้ได้ดีแล้ว การส่งเสียงอืออา ออกมาได้นั้น แสดงให้เห็นว่า ลูกน้อยของเรา รู้จักเปล่งเสียง จากลำคอได้แล้ว เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึง พัฒนาการลูกน้อย ที่มีแนวโน้มที่ดี

แต่ถ้าพบว่า ผ่านไปแล้ว 3 เดือน ลูกน้อย ของเรายังไม่ส่งเสียงอืออาอีก แนะนำว่า ให้รีบไปพบกุมารแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจสอบว่า มีปัญหาเรื่องการได้ยินหรือไม่

4. ขยับปากอ้อแอ้ ซึ่งจะเริ่มในช่วงอายุราว 3 – 4 เดือนไปแล้ว การขยับปากอ้อแอ้ ก็คือการขยับริมฝีปาก ร่วมกับการใช้ลิ้น ในการออกเสียงด้วย เป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจาก การร้องอืออา พัฒนาการในส่วนนี้ จะเด่นชัด ในช่วง 6 – 8 เดือนไปแล้ว เช่น ลูกน้อยขยับปาก ส่งเสียงว่า หม่ำๆ นั่นเอง อันนี้เป็นแค่คำตัวอย่างนะคะ ลูกอาจจะส่งเสียงออกเป็นคำอื่นก็ได้ ไม่เป็นไร แค่ขยับปากอ้อแอ้ ออกมาเป็นคำได้ ก็ถือว่า ผ่านในส่วนของพัฒนาการตรงนี้แล้วค่ะ แต่ถ้าพบว่า ลูกอายุ 6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ขยับปากอ้อแอ้สักที แนะนำว่าให้รีบไปปรึกษากุมารแพทย์ทันทีค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  เนอสเซอรี่เด็ก ที่ใหม่ ไฉไลกว่าที่เก่า ดูแลลูกเราดีมากๆ เลย

พัฒนาการเด็ก คว้าจับ

5. เอื้อมหยิบ และคว้าจับสิ่งของ พัฒนาการเด็ก ส่วนนี้จะเริ่มในช่วง อายุระหว่าง 5 – 7 เดือน การเอื้อม หรือการพยายามจะคว้าจับสิ่งของนั้น ถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญ เพราะแสดงให้เห็นว่า เด็ก มีความต้องการ มีความสนใจ และความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งมีความจำเป็นมากๆ ต่อการเรียนรู้ของเค้า ดังนั้นพ่อกับแม่ ควรจะส่งเสริมพัฒนาการ ในส่วนนี้ให้กับลูก โดยการวางของที่มีสีสัน ให้เค้าพยายามเอื้อมหยิบ หรือคว้าจับ เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริม ระบบประสาทสัมผัส และการมองเห็นให้กับเค้าไปพร้อมๆ กันด้วย

พัฒนาการลูกน้อย เหนี่ยวตัวเกาะยืน

6. เหนี่ยวตัวขึ้นเกาะยืน โดยเฉลี่ยแล้ว จะเริ่มในช่วงอายุราว 9 – 10 เดือน ซึ่งลูกจะมีพฤติกรรม ที่เวลาเห็นว่า มีตรงไหน ที่พอจะจับ แล้วเหนี่ยวตัวขึ้นเกาะยืนได้ ก็จะทำ เป็นการแสดงให้เห็นว่า เค้ามีการพัฒนากล้ามเนื้อขา ที่แข็งแรงพอ ที่จะรับน้ำหนักตัวเค้าได้แล้ว และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เค้าพร้อมที่จะหัดเดินแล้วนะ แต่อย่างไรก็ตาม เด็กบางคน อาจจะยังไม่เหนี่ยวตัวขึ้นเกาะ และยืนในช่วง 9 – 10 เดือน แต่อาจจะเริ่มพัฒนาการดังกล่าวนี้ ในช่วงอายุ 1 ขวบไปแล้ว อย่างน้องเนปจูน เพราะมีคนอุ้มตลอด ทำให้ไม่มีสิ่งกระตุ้น ให้เด็กอยากจะยืน ไปไหนมาไหน ก็ใส่รถเข็น หรือไม่ก็มีคนอุ้ม ทำให้เด็ก ขาดทักษะในส่วนนี้ไป อันนี้ดิฉัน ก็เลยอยากจะมาแนะนำกันว่า ตรงนี้ ดิฉันอาจจะพลาดไป จึงไม่อยากให้ใครมาพลาด เหมือนกับดิฉันอีก คือควรจะให้เด็ก เค้ามีโอกาส ได้เกาะเหนี่ยวตัวยืนเกาะมากๆ ตั้งแต่เล็ก ที่เราควรทำก็คือ ระวังเวลาเค้าพลาด ล้มลงมาก้นจ้ำเบ้า คอยระวัง อย่าให้หัวเค้ากระแทกพื้น เท่านั้นก็พอค่ะ

7. หัดหยิบของโดยใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ กับนิ้วชี้ พัฒนาการนี้ จะเห็นได้ชัด ในช่วงอายุราว 9 – 11 เดือน เป็นต้นไป อันนี้เป็นพัฒนาการ ที่สำคัญนะคะ แตกต่างจากการคว้าจับ ก่อนหน้านี้ ที่เด็กจะใช้ฝ่ามือ จับแบบทั้งมือ แต่พอเข้าช่วงอายุใกล้ๆ จะครบ 1 ขวบ เค้าจะเริ่มหยิบจับของ ชิ้นเล็กๆ ได้ ด้วยการใช้ นิ้วหัวแม่มือ กับนิ้วชี้เท่านั้น เป็นการแสดงออกให้เห็นว่า เค้ารู้จักควบคุมการเนื้อได้ดีขึ้นมาก ซึ่งจะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ และเป็นพื้นฐานของการช่วยตัวเองต่อไปในอนาคต นั่นคือ การติดกระดุมเสื้อ การแปรงฟัน และการหยิบของกินชิ้นเล็กๆ เข้าปาก

คุณแม่ต้องรู้  ก่อนจะ ตั้งครรภ์ ต้องทำอะไรบ้าง ตอนที่ 1

8. แสดงออกด้วยท่าทางต่างๆ จะเริ่มในช่วงอายุ 1 ขวบไปแล้ว การแสดงออกด้วยท่าทางนี้ ก็เช่นการใช้นิ้วชี้สิ่งของ เป็นการแสดงออกด้วยภาษากาย ก่อนภาษาพูด ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี ว่าพัฒนาการของเค้า เป็นปกติดี เพราะการที่เค้าจะขยับตัว แสดงท่าทางออกมาได้นั้น ต้องเริ่มจากการที่สมองสั่งการลงมา ซึ่งเมื่อเค้าขยับท่าทาง เพื่อสื่อสารกับพ่อแม่ ก็เป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า สมองของเค้าพัฒนาได้ดีมาก ทำให้รู้จักการใช้ภาษากาย ในการสื่อสาร บอกความต้องการของเค้า ให้กับพ่อแม่ รับรู้ได้

9. พูดคำแรกว่า “แม่” จะเริ่มในช่วงอายุราว 1 ขวบเช่นเดียวกัน คือ คำว่า แม่ เนี่ย ถือว่าเป็นคำพื้นฐาน ที่ลูกพูดออกมาได้ไม่ยากเลย เพราะเรามักจะแทนตัวเองว่า แม่ อยู่ตลอด ตั้งแต่เค้าเกิดมาอยู่แล้ว ยิ่งพูดกับเค้าบ่อยๆ สอนให้เค้าออกเสียงบ่อยๆ พอถึงเวลา เค้าก็จะเข้าใจว่า แม่ นั้น หมายถึงเรา และการเปล่งเสียงคำว่า แม่ ออกมานั้น ก็ไม่ยากเลย คล้ายๆ เสียงร้อง แวๆ หรือ แงๆ อยู่แล้ว ดังนั้นคำว่า แม่ จึงมักจะเป็นคำแรก ที่ลูกพูดออกมาได้ชัด คำต่อๆ มา ก็อาจจะเป็น วาๆ บาๆ อะไรประมาณนี้ เมื่อเห็นว่า ลูกเริ่มออกเสียงได้ ควรจะช่วงส่งเสริม พัฒนการในการพูดของเค้าทันที ด้วยการพูดกับเค้ามากๆ สอนเค้าพูด ให้รู้จักสิ่งของบ่อยๆ โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กอายุได้ 1 ขวบ 3 เดือน ถึง 1 ขวบ 5 เดือน มักจะรู้จักคำต่างๆ มากกว่า 20 คำแล้ว ยิ่งรู้จักคำมาก พูดได้มาก ก็ยิ่งดีค่ะ

สำหรับ 9 พัฒนาการลูกน้อย นี้นั้น อาจจะมาช้า มาเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับว่า เด็ก อยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบไหน มีคนช่วยหรือไม่ ถ้าพ่อแม่ ไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูก ลูกก็อาจจะพัฒนาไปได้ไม่เร็วนัก แต่อย่างไรก็ตาม ภายในอายุ ไม่เกิน 1 ขวบ 6 เดือน พัฒนาการ ทั้ง 9 อย่างนี้ ควรจะมีให้เห็นครบ ถ้าเด็กคนไหน เมื่ออายุถึง 1 ขวบ 6 เดือน แล้ว แต่ยังมีพัฒนการไม่ครบ 9 อย่างนี้ ควรจะรีบไปปรึกษา กุมารแพทย์ โดยเร็ว เพื่อวินิจฉัย ถึงความบกพร่อง หรือเป็นโรคใดๆ หรือไม่ ี