ตั้งครรภ์ 3 เดือน อาการเป็นอย่างไร และต้องดูแลตัวเองยังไง

56875
แบ่งปัน

สำหรับสิ่งที่ คุณแม่มือใหม่ ทุกท่าน ควรจะทราบ อันดับแรกเลย ก็คือ อาการ และการดูแลตัวเอง เมื่อ ตั้งครรภ์ 3 เดือน ส่วนใน 6 เดือน และ 9 เดือน นั้น ดิฉันจะอธิบาย ในบทความต่อๆ ไป จะได้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ไม่สับสน ถ้าเอามารวมกัน เดี๋ยวจะงงเอา ในช่วง การตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก นั้น เรียกได้ว่า มีความสำคัญ ต่อ ลูกน้อย ที่อยู่ใน ท้อง มากๆ เนื่องจาก เป็นระยะของการ เริ่มต้น การสร้าง กระดูกสันหลัง และเป็นการเริ่มต้น ชีวิตใหม่ ที่คนเป็นแม่ จำเป็น ต้องใส่ใจ มากๆ ในเรื่องการดูแลตัวเอง และจับตาดู สัญญาณต่างๆ ของร่างกาย ที่เริ่มเปลี่ยนไป ว่าแล้วก็มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง ที่ คุณแม่ ต้องรู้ เกี่ยวกับ ตัวเอง

อาการของ คุณแม่ ในช่วง ตั้งครรภ์ 3 เดือน นั้น จะเริ่มมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หรือที่หลายๆ คนเรียกกันว่า แพ้ท้อง นอกจากนี้ ยังมีอาการ เจ็บหน้าอก หงุดหงิดง่าย ปัสสาวะบ่อย คัดจมูก ผมหนาและมีน้ำหนักขึ้น จมูกรับรู้กลิ่นได้ไวขึ้น ท้องอืด ท้องผูก น้ำลายสอเต็มปาก อยากหรือเบื่ออาหาร ปวดหัว และมีสีผิว ที่ลานนมเข้มขึ้นเรื่อยๆ ขนาดของหน้าอก ก็จะเพิ่มขึ้น 1 ไซส์ เป็นอย่างน้อย และน้ำหนักตัว ก็จะเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 – 2.25 กิโลกรัม ทั้งหมดนี้ คือสัญญาณ การเปลี่ยนแปลง ของร่างกาย ที่กำลังจะเปลียนไป ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดี

คุณแม่ต้องรู้  ลูก 4 เดือน ไม่สบายครั้งแรก ดูแลลูก ยังไง

ตั้งครรภ์ 3 เดือน อาการเป็นอย่างไร และต้องดูแลตัวเองยังไง

สัญญาณอันตรายในช่วง ตั้งครรภ์ 3 เดือน

แต่ถ้าหากว่า คุณแม่ เกิดมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ที่ดิฉันกำลังจะบอกไป ถือว่า เป็นสัญญาณอันตราย ต้องรีบไปพบแพทย์ โดยทันที ได้แก่

  • มีเลือดออกจากช่องคลอด เกิดขึ้นร่วมกับ อาการปวดท้อง และเริ่มหายใจลำบากขึ้น
  • มีอาการแสบ คัน ในช่องคลอด หรือบริเวณใกล้เคียง
  • มีการตกขาว เป็นมูกเลือด ออกมา รวมถึงมีกลิ่นเหม็น เป็นฟอง หรือตกขาว ออกมาเป็นสีเหลือง เขียว หรือ เทา
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง มองเห็นภาพเบลอ พูดไม่ชัด
  • วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด ใจสั่น หัวใจเต้นแรง
  • ท้องผูกรุนแรง หรือ ท้องเสีย เกิน 24 ชม.
  • อาเจียนอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง ร่วมกับอาการปวดท้อง และมีไข้
  • มีไข้เท่ากับ หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ปวดท้องน้อย อย่างรุนแรง และต่อเนื่อง
  • ได้รับการบาดเจ็บ ที่บริเวณหน้าท้อง จากการล้ม หรือกระแทก จะเจ็บ ปวด หรือไม่ปวด ก็ต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน
  • ปัสสาวะน้อย หรือ ปัสสาวะไม่ออก รวมทั้งมีอาการ แสบหรือปวด ขณะปัสสาวะ
  • เป็นตะคริวที่ขา หรือ เจ็บน่องอย่างรุนแรง ไม่ยอมหาย

ทางที่ดีที่สุดก็คือ คุณแม่ ควรจะรีบไป ฝากครรภ์ กับคุณหมอ ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่ หมอ จะได้ทำการ ตรวจวินิจฉัยต่างๆ ได้แก่ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ การอัลตร้าซาวนด์ และ การตรวจหา ความผิดปกติ ทางพันธุกรรม ซึ่งจะช่วยบอกได้ว่า ลูก ในท้อง ที่จะเกิดออกมานั้น มีความสมบูรณ์ มากแค่ไหน จะเป็นโรค หรือ พิการ หรือไ่ม่ รวมทั้ง หมอ จะได้จ่ายยา มาให้ทาน เพื่อดูแลสุขภาพ อีกด้วย นั่นคือ กรดโฟลิก ที่เป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนา ของ ทารกในครรภ์ อีกด้วย

คุณแม่ต้องรู้  วิธีการส่งเสริมทักษะความฉลาดทั้ง 4 ด้าน ของ ลูกวัย 6 เดือน - 1 ปี

การดูแลตัวเอง ในช่วง ท้อง3เดือน แรกนี้ คุณแม่ ต้องรับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ โดยกินให้หลากหลายนะคะ อย่ากินซ้ำซาก เพราะจะได้สารอาหาร ไม่ครบถ้วน ที่สำคัญ ต้องงดการกิน ของดิบ ของหมักดอง ลดการกินหวานมากเกินไป และลดการกินเค็มมาก งดกาแฟ และชา ซึ่งมีสาร คาเฟอีน เป็นองค์ประกอบอยู่ เช่นกัน รวมทั้งงด แอลกอฮอล์ด้วย ควรดื่มน้ำเยอะๆ

การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ควรกระทำ แม้ว่าหลายคน จะเห็นว่า ตั้งครรภ์ 3 เดือน หรือเรียกได้ว่า ท้องอ่อนๆ ไม่ควรออกกำลังกาย ในความเป็นจริงแล้ว จำเป็นมากๆ ค่ะ ที่ คุณแม่ ต้องออกกำลังกายบ้าง โดยใช้การ ออกกำลังกายเบาๆ ใช้เวลาเพียงสั้นๆ ดื่มน้ำมากๆ โดยที่สำคัญ ต้องหลีกเลี่ยง อากาศที่ร้อนจัด ก่อนจะออกกำลังกาย ก็ควรจะกินอาหาร ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงสักหน่อย เพื่อเป็นการเพิ่มพลังงาน โดยกินก่อนออกกำลังกาย อย่างน้อย 1 ชั่วโมง จะดีที่สุด

 เคล็ดลับสำคัญ ที่จะช่วยลดอาการ แพ้ท้อง ให้กับ คุณแม่

สำหรับ อาหาร ที่สามารถช่วยลด อาการ แพ้ท้อง ของ คุณแม่ ลงได้ เรียกง่ายๆ ว่า ช่วยลดอาการคลื่นไส้ ลงได้ก็คือ แครกเกอร์รสเค็ม ขนมปังปิ้ง กล้วย ไอศครีมรสผลไม้ และถั่วเปลือกแข็งอบแห้ง ของกินเหล่านี้ มีติดไว้ เวลาไปไหนมาไหน ในช่วงของการ ตั้งครรภ์ 3 เดือน นี้ ก็จะดีมากๆ ช่วยบรรเทา อาการ แพ้ท้อง ได้อย่างดีเลยค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  อายุครรภ์ 2 สัปดาห์ ควรดูแลตัวเองและ ทารกในครรภ์ อย่างไร

กำหนดวันคลอด

ในเรื่องของการ กำหนดวันคลอด นั้น หมอ จะทำการนับ ตั้งแต่วันแรก ที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมา นั่นหมายความว่า ถ้า คุณแม่ จำไม่ได้ หรือไม่แน่ใจว่า วันแรกที่ประจำเดือน ครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่ กำหนดคลอด ก็จะไม่แน่นอน อาจจะคลาดเคลื่อนได้ แต่ถ้า คุณแม่มือใหม่ คนไหน ทำการจดเอาไว้ คือ ได้วางแผนจะ มีลูก เอาไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะจดเอาไว้ชัดเจน หมอ ก็จะสามารถ คำนวน กำหนดวันคลอด ออกมา ได้ค่อนข้างแม่นยำ ตัวอย่าง วิธีการคำนวณ วันคลอด ง่ายๆ เช่น ถ้าวันแรก ที่ประจำเดือน ครั้งสุดท้ายมา คือ วันที่ 10 ( ให้นำมา + 7 วัน ) เดือน เมษายน ( ให้นำมา ลบออก 3 เดือน ) พ.ศ. 2557 ( ให้ + 1 ปี ) เราก็จะได้ กำหนดคลอด ออกมา คือ วันที่ 17 มกราคม 2558 แต่การคำนวณ แบบนี้ จะแม่นยำที่สุด ก็ต่อเมื่อ คุณแม่ นั้น มีประจำเดือน มาอย่าง สม่ำเสมอ รู้วันตกไข่ ที่แน่นอน แต่ถ้ามีประจำเดือน มาไม่แน่นอน ก็จะคลาดเคลื่อนไปบ้าง ประมาณ 5 – 10 วัน แล้วแต่บุคคลค่ะ คุณแม่ ที่ ตั้งครรภ์ 3 เดือน แล้ว ฝากครรภ์ กับ หมอ แล้ว จะทราบ กำหนดวันคลอด จากหมอ อยู่แล้วค่ะ