รกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ คืออะไร และอันตรายแค่ไหนกับคุณแม่ มาทำความเข้าใจกันค่ะ

10556
แบ่งปัน

เมื่อตอนที่แอดมินได้ไปทำการตรวจครรภ์ ในช่วงเดือนที่ 4 ที่โรงพยาบาลศิริราช คุณหมอก็เอ่ยขึ้นมาคำนึงว่า รกต่ำนะ แต่ก็ไม่ได้บอกแบบซีเรียสว่ามันคืออะไร คือเอ่ยว่า “รกต่ำนะ แต่ไม่ต้องกังวลเดี๋ยวมันก็ขึ้นมา” ตัวแอดมินเอง กับสามี ก็ยังงงๆ ว่ามันคืออะไร แต่หมอไม่ได้แสดงอาการกังวล หรือซีเรียสอะไร เราก็เลยเฉยๆ ผ่านไปสองสัปดาห์ ก็เริ่มสงสัย เลยมาค้นคว้าหาข้อมูลดู ถึงได้รู้ว่า มันคือภาวะ รกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะเรียกว่า เป็นอาการที่อันตรายมาก ก็ว่าได้ แต่ทำไมคุณหมอ ถึงยังดูเฉยๆ และไม่กังวลอะไรเลย หลังจากที่ได้ศึกษาค้นคว้า แอดมินก็เลยมีคำอธิบายในเรื่องนี้ค่ะ

รกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ คืออะไร?

ภาวะรกเกาะต่ำ หรือเรียกสั้นๆ ว่า รกต่ำ นั้น อธิบายให้เข้าใจกันแบบภาษาง่ายๆ ก็คือ ตำแหน่งที่รก เกาะที่ผนังมดลูก มันอยู่ต่ำ จนปิดปากมดลูกบางส่วน หรือปิดปากมดลูกทั้งหมดเลยนั่นเอง ส่งผลให้มีปัญหา ในไตรมาสที่ 3 ก่อนที่จะคลอด อาจส่งผลให้ คลอดก่อนกำหนดได้ง่ายมากๆ โดยสาเหตุของการเกิดภาวะรกเกาะต่ำแบบนี้ ส่วนใหญ่แล้ว จะเกิดจากการที่

1. มีลูกหลายๆ คน ติดต่อกันโดยไม่พัก ส่งผลให้ผนังมดลูกไม่ทันได้ฟื้นตัว รกจึงต้องหาทางขยับไปเกาะในตำแหน่งอื่นแทน ซึ่งก็ต้องลงมาที่ด้านล่าง ต่ำๆ หน่อย เพราะผนังส่วนนี้ ยังไม่เคยถูกเกาะมาก่อน อะไรประมาณนั้น

คุณแม่ต้องรู้  อยากคลอดลูกง่าย คลอดเอง ไม่ต้องผ่า ทำยังไง มีวิธีมาฝากกันค่ะ

2. คุณแม่ มีอายุมาก เกิน 35 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงหมด

3. ปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่อาจจะควบคุมได้ หรือ แล้วแต่โชคชะตา

เพื่อความเข้าใจ แอดมินแนะนำให้ดูที่ภาพด้านล่างนี้เลยค่ะ ทั้ง 2 ภาพนี้ บ่งบอกถึง หน้าตาของ ภาวะรกเกาะต่ำ ว่ามันต่ำยังไง และมันปิดปากมดลูกยังไง ดูแล้วจะเข้าใจค่ะ เพราะในภาพ จะมีการเปรียบเทียบกับ ตำแหน่งของรกที่เกาะปกติอยู่แล้ว

ภาวะรกเกาะต่ำ ในระหว่างตั้งครรภ์ แม่เนปจูน
ภาพจากเว็บไซต์ http://nurseslabs.com/placenta-previa/
ภาพจากเว็บไซต์ http://medicinembbs.blogspot.com/2015/08/placental-implantation.html

อันตรายจากการที่ รกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ คืออะไร?

ถ้ารกมาเกาะอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำ จนปิดปากมดลูกบางส่วน หรือปิดทั้งหมด อันตรายที่จะเกิดขึ้นก็คือ เมื่ออายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น ในช่วงไตรมาสที่ 3 และปากมดลูกเริ่มขยายตัวออก เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการคลอดในอนาคต จะทำให้เกิดการฉีกขาดของตำแหน่งที่รกเกาะ ส่งผลให้มีเลือดออก ทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนด โดยการ “ผ่าคลอด” เท่านั้นนะคะ เพราะไม่สามารถคลอดตามปกติได้ ถามว่าอันตรายไหม? บอกได้เลยว่า อันตรายมากๆ ค่ะ เพราะการคลอดก่อนกำหนดนั้น อาจจะคลอดก่อนเป็นเดือนเลยก็ได้ อยู่ที่ว่า รกส่วนที่เกาะอยู่จะเริ่มฉีกขาด และมีเลือดออก จนเป็นอันตรายแค่ไหน และต้องผ่าคลอดเท่านั้น การคลอดก่อนกำหนด ต้องให้เด็กอยู่ในตู้อบ และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสภาพร่างกายของเค้า ยังไม่พร้อม ทั้งเรื่องของปอด และระบบต่างๆ ภายในร่างกาย จึงเป็นอันตรายต่อตัวของทารกมากๆ ค่ะ ส่วนคุณแม่ ถ้าเลือดออกมากเกินไป เสียเลือดมาก ก็อันตรายเช่นเดียวกัน สรุปคือ อันตรายมากๆ ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  อายุครรภ์ 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณแม่บ้าง

แต่ถ้าเกิดเป็น ภาวะรกต่ำ ขึ้นมาจริงๆ การดูแลก็คือ ในช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่ ต้องไม่ทำงานหนัก เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง ที่จะกระทบกระเทือน จนทำให้รกเกิดรอยแยก ซึ่งจะทำให้มีเลือดออก โดยทั่วไปแล้ว อาการเริ่มต้น คือจะมีเลือดออกนิดๆ หน่อยๆ เพราะรกเริ่มฉีกขาด ตรงนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจดูอาการ และให้คำปรึกษานะคะ อาจจะดูแลลำบากสักหน่อย แต่ก็ต้องทนค่ะ คุณแม่จะทำงานหนักไม่ได้นะคะ เพราะจะทำให้มีความเสี่ยง ที่จะเกิดการฉีกขาดได้ง่ายมากขึ้นไปอีก ส่วนใหญ่ จะแนะนำว่า ให้นอนนิ่งๆ อย่าทำงานหนักค่ะ ลดการเคลื่อนไหวของมดลูกให้มากที่สุด อะไรประมาณนั้น

วิธีป้องกัน หรือวิธีการรักษา ภาวะรกเกาะต่ำ มีหรือไม่?

แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ ก็เหมือนอย่างที่คุณหมอ ที่แอดมินไปฝากครรภ์บอก เดี๋ยวพออายุครรภ์มากขึ้น รกมันก็จะเคลื่อนที่ ขึ้นไปเกาะข้างบนเอง คือ ต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะ ว่า รกเนี่ย มันเกาะอยู่ แต่ยังไม่ได้เกาะแบบถาวรนะคะ มันยังเคลื่อนที่ได้เรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ แปลว่า ถ้าตรวจพบว่า ตำแหน่งรกต่ำ ในช่วง ไตรมาสแรก หรือช่วงต้นๆ ของไตรมาสที่ 2 ก็ยังไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะรก อาจจะเคลื่อนตัวขึ้นมาเกาะที่ผนังมดลูกด้านบน เหมือนปกติ ก็ได้ค่ะ ซึ่ง ณ ตอนนี้ หลังจากได้ไปตรวจครรภ์ เดือนที่ 5 คุณหมอก็เห็นแล้วว่า รกเคลื่อนตัวขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรแล้ว

คุณแม่ต้องรู้  วิธีแก้ปัญหา ท้องผูกในช่วงตั้งครรภ์ กินยังไง ไม่ให้ท้องผูก

ที่แอดมินเอาข้อมูล เกี่ยวกับ อาการภาวะรกเกาะต่ำนี้ มาบอกเล่าให้ฟังกัน ก็เพื่อต้องการให้ คุณแม่ หลายๆ ท่าน มีความเข้าใจเฉยๆ ไม่ได้อยากจะให้กังวล หรือมองโลกในแง่ร้าย การดูแลครรภ์อย่างดี กินอาหารให้ครบถ้วน มีสภาพจิตใจที่ดี ย่อมทำให้มีโอกาสเกิดภาวะ รกต่ำ ได้น้อยมากๆ ยกเว้นคุณแม่ ที่มีลูกหัวปีท้ายปี แบบหลายๆ คน อันนี้ ก็ป้องกันได้ลำบากนะคะ คำแนะนำก็คือ ควรจะมีลูกคนแรก และเว้นสัก 1 ปี แล้วค่อยมีอีกคนค่ะ เพื่อให้ผนังมดลูก ได้ฟื้นตัว ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะรกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ แม้ว่าจะถูกตรวจพบในช่วงแรกๆ ประมาณ ไตรมาสแรก หรือ ไตรมาสที่สอง ระหว่างตั้งครรภ์ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล เพราะรกมันยังสามารถเคลื่อนที่ได้อีก อาจจะไม่ได้เกาะต่ำอยู่แบบนั้นไปตลอด จนถึงไตรมาสที่ 3 ก็ได้ การที่คุณแม่มานั่งเครียด จะทำให้สภาพจิตใจไม่ดี ส่งผลไปที่ทารกในครรภ์ได้นะคะ ดังนั้น อย่าไปเครียดค่ะ สำหรับใครที่ตรวจพบว่ามี ภาวะรกเกาะต่ำ เหมือนกับแอดมิน ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีขึ้นเอง แน่นอนค่ะ