ประสบการณ์ที่ได้จากการที่ ลูกท้องเสีย มีอะไรบ้างที่ คุณแม่ อย่างเราต้องรู้เอาไว้

11300
แบ่งปัน

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ดิฉันได้นำเรื่องที่ ลูกท้องเสีย มาแชร์ประสบการ์ณให้ทุกท่านได้อ่านกัน นับตั้งแต่วันแรก ที่น้องเนปจูนท้องเสีย แล้วไปหาหมอถึง 2 โรงพยาบาล ทั้งรัฐ และเอกชน หลังจากที่ดิฉันตัดสินใจเปลี่ยนยาจาก ยาเม็ดอย่าง นอร์ฟล็อกซาซิน มาเป็น Omnicef ซึ่งเป็นยาน้ำ ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อในลำไส้ ณ ตอนนี้ ผ่านมาแล้ว 2 วัน หรือ 48 ชม. นับจากที่ได้ไปหาหมอมา กินยาไปแล้ว 4 ครั้ง พบว่า น้องเนปจูน ไม่ท้องเสียอีกแล้ว ไม่ถ่ายบ่อยอีกแล้ว หรือจะเรียกได้ว่า หยุดถ่ายแล้วนั่นเอง ดีใจมากๆ ค่ะ รู้สึกว่า คิดถูก และทำถูกแล้ว ลูก ถึงได้หายไวขนาดนี้ จึงคิดว่า มันคงจะดีไม่น้อย ถ้าดิฉันจะทำการสรุป ประสบการณ์, สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ในยามที่ ดูแลลูกน้อย เมื่อท้องเสีย ให้ทุกคนได้อ่านกัน ยกตัวอย่างเช่น ยาฆ่าเชื้อ ที่เป็น ยาน้ำ กับยาเม็ด มีความแตกต่างกันมากเลยนะคะ แม้ว่า หมอจะจ่ายยาที่กินแล้วได้ผลดีที่สุดมาให้ แต่ถ้าเด็กเค้ากินไม่ได้ จ่ายยาดีแค่ไหนมา ก็ไม่ทำให้ลูกของเราหายหรอกค่ะ แต่ถ้าจ่ายยาที่เป็นยาน้ำ หอม หวาน (หอมหวานจริงๆ ค่ะ ดมแล้ว ชิมแล้ว บอกเลย อร่อย มว๊ากกก) ลูก ก็กินได้ง่าย เมื่อกินได้ง่าย ก็ได้ผลดี ฆ่าเชื้อได้เร็ว และทำให้ลูกหายได้เร็ว ตอนนี้ น้องเนปจูนร่าเริงสุดๆ เพราะกลับเป็นปกติแล้ว

ประสบการณ์ที่ได้จากการที่ ลูกท้องเสีย มีอะไรบ้างที่ คุณแม่ อย่างเราต้องรู้เอาไว้

ต้องบอกตามตรงว่า ตอนที่ ลูกท้องเสีย ในตอนแรกๆ ดิฉันหาข้อมูลในเวบเกี่ยวกับ แม่ลูก ดังๆ หลายเว็บ แต่บอกได้เลยค่ะ ว่าไม่มีประโยชน์ หรือองค์ความรู้อะไรมาให้เลย เพราะมันไม่ใช่เว็บที่คนเป็นแม่ เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์จริง แต่มันเปิดหนังสือ หรือเว็บต่างประเทศแล้วลอกมา เลยไม่มีอะไรที่นำมาใช้ได้จริงเลย เมื่อเห็นแบบนี้ ดิฉันก็ไม่อยากปล่อยให้ประสบการณ์ที่ดิฉันได้เจอมา ผ่านไป จึงรวบรวม แล้วนำมาสรุปให้ คุณแม่ ทุกคน นำไปเตรียมตัวรับมือ เวลาที่ลูกท้องเสียกันได้ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  เรื่องจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การตั้งครรภ์

ประสบการณ์ที่ได้เจอตอน ลูกท้องเสีย ที่ คุณแม่ อย่างเรา ต้องรู้ไว้

1. อย่าไว้ใจว่า หมอ ว่าจะจ่ายยาที่ดีที่สุดให้เรา เมื่อได้รับยามา ต้องนำมาตรวจสอบ หาข้อมูลก่อนว่า ยาชนิดนี้ มันมีผลดี และผลข้างเคียงอย่างไร ลูกเรามีความจำเป็นต้องใช้ขนาดนั้นมั้ย ไม่ใช่ว่า ดิฉันไม่ศรัทธาหมอนะคะ บางท่านอาจจะมองว่า ไม่เชื่อหมอ แล้วจะมาหาหมอทำไม คำตอบง่ายๆ ค่ะ ก็ดิฉันไม่ใช่หมอ แต่ก็มีความรู้ เปรียบเทียบอะไรต่ออะไรเป็น ดิฉันอาจจะใช้มีดผ่าตัดผ่าคนไม่ได้ แต่ดิฉันวิเคราะห์ได้ว่า ร่างกายดิฉันไม่สบายเกิดจากอะไร เป็นอะไร รู้สึกอย่างไร

ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาที่คุณไม่สบาย คุณไปหาหมอ คุณไปเจอหมออายุรกรรม เค้าทำการรักษาคุณยังไงคะ เจอกันปุ๊บ เจาะเลือดตรวจเลยมั้ย? คำตอบคือ ไม่ค่ะ ขั้นต้น หรือครั้งแรก ที่พบหมอ หมอจะซักถามอาการ แล้วดูว่า อาการที่เรากล่าวมานั้น ตรงกับอาการของโรคไหน มีโรคแทรกซ้อนหรือไม่ พูดง่ายๆ ก็เหมือนหมอดูนั่นแหละค่ะ ถ้าคนไข้อธิบายอาการไม่ละเอียด หมออาจจ่ายยามาผิดได้ง่ายๆ ซึ่งผลที่ตามมา จากการจ่ายยาผิด ไม่ตรงกับโรค ก็คือ ดื้อยา และโรคไม่หาย หนักๆ เข้าอาจป่วยซ้ำเป็นโรคอื่น หรือแพ้ยาจนเสียชีวิตได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นการเจาะเลือดตรวจ มักจะกระทำกับคนไข้ที่มีอาการรุนแรง เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียด ซึ่งอันนั้น ดิฉันเชื่อค่ะ เพราะผลมันออกมาชัดเจน แต่ไม่ใช่ว่า จะได้เจาะเลือดตรวจกันง่ายๆ นะคะ หมอต้องวิเคราะห์อีกว่า จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจมั้ยอีก

คุณแม่ต้องรู้  ลูกกิน นมแม่ ทำให้ ฟันผุ ได้ จริงหรือไม่

ยาแก้ท้องเสียของเด็ก ต้องใช้ตัวไหนกันแน่นะ

ดังนั้นก่อนที่จะไปหาหมอ ดิฉันก็ได้ค้นคว้าหาข้อมูลดูอยู่แล้ว ว่าอาการของ ลูกน้อย มีโอกาสเข้าข่ายเป็นโรคอะไร และรักษาแบบไหนได้บ้าง เมื่อหมอวิเคราะห์อาการลูกเรา เราก็จะยิ่งเข้าใจมากขึ้น และสามารถซักถามได้ตรงจุด พูดง่ายๆ ก็คือ คุยภาษาเดียวกันกับหมอได้เลยว่างั้น ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของ ยาแก้ท้องเสียของเด็ก ที่ดิฉันได้เขียนบทความไปแล้ว

เรื่องของยา ดิฉันจึงได้ตัดสินใจ เปลี่ยนโรงพยาบาล ไปหาหมออีกที่หนึ่ง ที่เค้าสามารถจ่ายยาแบบน้ำให้ลูกกินได้ เพราะถึงกลับไปโรงพยาบาลเดิม ก็ไม่มีประโยชน์ค่ะ ซึ่งก็ถือว่า ประสบความสำเร็จ ได้ผลดี ลูกหายไว เพราะได้ยาดี เสียเงินค่ายาใหม่แพงนิดนึง แต่ลูกปลอดภัย กินยาง่าย และได้ผลดี ดิฉันรับได้ค่ะ ดีกว่าถูก แล้วไม่มีคุณภาพ

2. เมื่อพบว่าลูกถ่ายมากกว่า 2 ครั้ง ในเวลาใกล้ๆ กัน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า ลูกท้องเสีย สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องรีบล้างก้น หรือเช็ดก้นลูก โดยเร็วที่สุด ทุกๆ ครั้งที่ลูกถ่ายออกมา เพราะน้ำย่อย ที่ปนออกมากับอุจจาระในกรณีที่ลูกท้องเสีย จะไปกัดผิวหนังบริเวณก้นของ ลูกน้อย จนแดง และเค้าจะรู้สึกแสบมากๆ จนแม้แต่แตะโดนยังไม่ได้ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเลยนะคะ ต้องจำเอาไว้ ลูกอึออกมาแล้ว เมื่ออึเสร็จ ต้องรีบเช็ดก้น อย่าปล่อยทิ้งเอาไว้ในแพมเพิร์ส

ลูกท้องเสีย เพราะอะไรกัน

3. สังเกตอาการของลูกให้ดี ถ้าลูกท้องเสีย แต่ร่าเริง ยังเล่นได้ กินได้เป็นปกติ อาจจะไม่จำเป็นต้องพาไปหาหมอก็ได้ เพราะนั่นแสดงว่า อาการของท้องเสียนั้น ยังไม่รุนแรงมาก

4. หยุดกินนมทุกชนิดก่อนเลย เพราะเชื้อแบคทีเรีย ที่เข้าไปในลำไส้ของ เด็ก มักจะเข้าไปขัดขวาง การย่อยน้ำตาลแล็กโตส ของ ลูกน้อย ทำให้ท้องเสียตลอด เหมือนผู้ใหญ่เราหลายๆ คนก็เป็นเช่นกัน คือไม่สามารถกินนมวัวได้ กินทีไร ท้องเสียทุกที อะไรประมาณนี้ ให้ลูกหยุดกินนมแม่ นมผง หรือนมกล่อง ที่ผลิตมาจากนมวัว แต่ให้กินนมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ หรือนมเฉพาะ ที่ไม่มีน้ำตาลแล็กโตส อย่าง Similac LF ได้ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  ลูกไม่สบาย ติดเชื้อ RSV ไอ น้ำมูกไหล ทำไงดี

วิธีการ ดูแลลูกน้อย เมื่อท้องเสีย

5. ระมัดระวังเวลาล้างก้นลูก หลังถ่ายเสร็จ อย่าใช้มือเข้าไปล้างนะคะ แต่ให้ใช้น้ำฉีดเบาๆ หรือใช้สำลีชุบน้ำ แล้วบีบน้ำใส่เบาๆ เพราะเค้าจะยิ่งเจ็บผิวที่แดงอยู่บริเวณรอบรูก้น อันนี้เป็นเทคนิคสำคัญเลยนะคะ

6. อย่าให้ลูกอดอาหารนะคะ แต่ให้งดนมวัว และนมแม่ ไม่ให้ลูกกิน แต่ต้องให้เค้ากินอาหารอื่นเป็นปกตินะคะ เค้าจะได้มีแรง

7. ใส่ใจการเล่นของลูก ให้มากกว่านี้ ต่อไปต้องระวัง อย่าให้เค้า เอาอะไรเข้าปากอีก แม้แต่นิ้วของเค้า ก็อย่าให้เค้าเอาไปอม เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในระบบทางเดินอาหาร ล้างมือเค้าเสมอๆ ทุกครั้งที่เล่นเสร็จ ก่อนให้เค้าหยิบของกินเข้าปาก

ลูกท้องเสีย ไม่สบาย เพราะอะไร

8. อาการท้องเสีย ไม่มียาระงับท้องเสีย หรือ ยาแก้ท้องเสียของเด็ก มีแต่ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบเม็ด ออกฤทธิ์ได้ดีภายในลำไส้ กับอีกแบบคือแบบน้ำ มีราคาแพง แต่ออกฤทธิ์ไปทั่วแม้กระทั่งภายในกระแสเลือดด้วย

บอกตามตรงนะคะ ถ้ายังไงลูกก็ต้องไม่สบาย แล้วให้เลือก ระหว่างต้องให้ลูกไม่สบาย เป็นหวัด กับ ท้องเสีย ดิฉันขอเลือกให้ลูกเป็นหวัดดีกว่าค่ะ ดูแลง่าย และเค้าไม่ทรมานมากเท่าท้องเสีย ลูกท้องเสีย เจ็บทั้งก้น หมดแรง กินนมก็ไม่ได้ ทรมานหลายอย่าง สงสารลูกมากๆ ค่ะ ถ้าไม่อยากเจอแบบดิฉัน ใส่ใจเรื่องการกิน และการเล่น (หยิบของเข้าปาก หรือ อมนิ้ว) ของเค้าตลอดเวลานะคะ เค้าจะได้ไม่ติดเชื้อ อ่านได้ใน บทความ ลูกท้องเสีย เพราะอะไรกันนะ นี่ขนาดว่า น้องเนปจูนเค้าไม่ค่อยเอาของเข้าปากแล้วนะคะ ถึงตอนนี้ยังไม่รู้เลยว่า ติดเชื้อมาได้ยังไง แต่สำหรับทางการแพทย์แล้ว “การป้องกัน” ย่อมดีกว่า “การรักษา” เป็นร้อยเท่าทวีคูณค่ะ กันดีกว่าแก้นะคะ