อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ ควรดูแลอย่างไร

3481
แบ่งปัน

เมื่อคุณแม่ รู้ตัวว่า ตั้งครรภ์ จนมี อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ ( มีน้อยคนมากๆ ที่จะรู้ตัว ยกเว้นว่า ตั้งตารอและทำการตรวจปัสสาวะทุกวัน ) จำเป็นต้องรู้ว่า ร่างกายของตัวเองนั้น ต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ เนื่องจากทารกในครรภ์ จะได้รับสารอาหาร จากสิ่งที่ คุณแม่ รับประทานเข้าไป ผ่านทางกระแสเลือด ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในระหว่างตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งจำเป็น และแอดมินก็ย้ำอยู่เสมอ ในทุกๆ ครั้ง ที่เขียนบทความ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ถ้าลูกน้อยในครรภ์ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของ แม่ และลูกได้ ถ้าปกติแล้ว คุณแม่ มีร่างกายที่ไม่ผอม หรือไม่อ้วนเกินไป เวลาตั้งครรภ์ ก็จะปรับตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง คือ กินเพิ่มเติมจากปกติ นิดหน่อยเท่านั้น สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเลยก็คือ ร่างกายของ คุณแม่ จะมีความต้องการโปรตีน ไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อมากขึ้นเป็น 2 เท่าจากปกติ ซึ่งถ้าให้แนะนำ ก็ควรจะไปเน้นการกิน นม ไข่ เนื้อสัตว์ ถั่ว และธัญพืช ต่างๆ ให้หลากหลาย เพื่อจะได้โปรตีนครบถ้วน นอกจากนี้ ก็ต้องเน้นสารอาหารอย่างอื่นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้ แอดมิน จะมาอธิบายถึง ประโยชน์ของสารอาหาร แต่ละประเภท แบบละเอียด และวิชาการกันเต็มๆ สักหน่อย เพื่อให้ คุณแม่มือใหม่ ทุกท่าน ได้เข้าใจ และสามารถซื้อมารับประทานได้อย่างถูกต้อง

อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ ควรดูแลอย่างไร

สำหรับคุณแม่ ที่รับประทานมังสวิรัติ ถ้าทำได้ ควรจะรับประทานเนื้อสัตว์บ้าง แต่ถ้าเคร่งจริงๆ แนะนำให้รับประทานพวก ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวไรน์ มะพร้าว เมล็ดงาต่างๆ และผักใบเขียวเข้มๆ รวมทั้งผักประเภทที่เป็นฝักทั้งหลาย เช่น ถั่วลันเตา และธัญพืชต่างๆ ก็พอจะชดเชยกันได้อยู่บ้าง แต่ที่แน่ๆ นม ควรจะดื่มบ้างก็ดีนะคะ เพื่อให้ได้รับปริมาณโปรตีน ครบถ้วน ตามที่ร่างกายต้องการ

สำหรับคาร์โบไฮเดรต และไขมันนั้น แม้จะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ต่อร่างกาย แต่ถ้าทานมากเกินไป ก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็ว จนทำให้อ้วน และอาจเป็น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้ด้วย ที่สำคัญ ควรจะเลือกทานเฉพาะไขมันดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

วิตามิน และเกลือแร่ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ต่อร่างกายอย่างมากเช่นกัน เพราะร่างกาย ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามิน ขึ้นมาใช้เองได้ จำเป็นต้องได้จากการกินเข้าไปเท่านั้น สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ จำเป็นต้องได้รับ เกลือแร่ และวิตามิน มากกว่าปกติ โดยวิตามิน ที่จำเป็นต้องทานเลย ก็ได้แก่ วิตามินดี วิตามินบี 6 และกรดโฟลิก ส่วนเกลือแร่ ที่จำเป็นก็ได้แก่ เหล็ก แคลเซียม และไอโอดีน ( จำเป็นมากๆ )

คุณแม่ต้องรู้  วิธีนับ อายุครรภ์ ว่าตั้งครรภ์ได้กี่เดือนแล้ว

ในระหว่างการตั้งครรภ์ วิตามินเอ มีความจำเป็นมาก เพื่อให้คุณแม่ มีความต้านทานต่อการติดเชื้อได้ดีขึ้น และมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อีกด้วย แต่ถ้าคุณแม่ เน้นวิตามินเอ มากเกินไป ก็อาจจะส่งผล ทำให้ทารกแรกเกิด มีน้ำในหัวมากเกินไปได้ ดังนั้นทานแค่พอดีๆ อย่าไปทานทีละเยอะๆ นะคะ เรียกได้ว่า ถ้าทานผัก และผลไม้ เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องทานวิตามินเม็ด เพิ่มเลยค่ะ

วิตามินบี 1 และ บี 2 อันนี้จะช่วยให้ระบบย่อยอาหาร ของคุณแม่ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยในการเผาผลาญสารอาหารอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งวิตามินบี 1 และ บี 2 สามารถหาได้จากข้าวซ้อมมือ หรือ ธัญพืชต่างๆ ก็ได้ค่ะ

วิตามินดี อันนี้สำคัญมากๆ เพราะจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ ถ้าคุณแม่ได้รับวิตามินดี น้อยเกินไป อาจทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อนได้ นอกจากนี้ วิตามินดี ยังมีความจำเป็น ในการรักษาความสมดุลของ แคลเซียม และฟอสฟอรัส ให้ได้สัดส่วนกันพอดี และยังมีส่วนช่วยลดระยะเวลา ของการคลอดให้สั้นลงได้อีกด้วย เรียกได้ว่า สำคัญมากๆ เลยทีเดียว

วิตามินบี 6 และกรดโฟลิก ( folic acid ) เป็นวิตามิน ประเภทที่ละลายน้ำได้ ซึ่งก็เป็นทั้งข้อดี และข้อเสีย สำหรับข้อดีก็คือ ปลอดภัย เพราะจะไม่มีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากละลายน้ำได้ แค่ปัสสาวะ มันก็ออกไปหมดแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ มันละลายและขับออกไปได้ดี จึงมีโอกาสขาดแคลนได้ง่ายนั่นเอง วิตามินบี 6 ถือเป็นพระเอก ในช่วงของการตั้งครรภ์ระยะแรก เพราะจะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องในตอนเช้า และอาการผิดปกติบางอย่าง ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ รวมทั้งยังเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการสร้างและสลายกรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนอีกด้วย

ส่วนกรดโฟลิกนั้น จำเป็นที่สุด และขาดไม่ได้เลย ถ้าไปฝากครรภ์ คุณหมอ จะต้องจ่ายกรดโฟลิก มาให้ทานแน่นอน เพราะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาการ และการเจริญเติบโต ของสมอง และระบบประสาท ของทารกน้อยในครรภ์ และยังช่วยให้การสร้างเซลล์เม็ดเลือดของทารก เป็นปกติอีกด้วย

ส่วนธาตุเหล็กนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็น ในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารที่ใช้จับออกซิเจน ในเม็ดเลือดแดง การขาดธาตุเหล็ก หรือได้รับไม่เพียงพอ จะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งสำหรับคนที่ทานแต่มังสวิรัติ ย่อมมีโอกาสในการขาดธาตุเหล็กสูงกว่า คนที่ทานเนื้อสัตว์ทั่วไปมาก เพราะในเนื้อสัตว์ มีธาตุเหล็กมากกว่า ในพืช เคล็ดลับสำคัญ การจะทำให้ร่างกาย สามารถดูดซึม ธาตุเหล็ก เข้าไปในร่างกายได้มากๆ นั้น จำเป็นต้องทานคู่กับ ผัก หรือ ผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูงๆ จะช่วยได้ทำให้ดูดซึมได้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก นอกจากเนื้อสัตว์แล้ว ยังมีผลไม้แห้ง ที่ให้ธาตุเหล็กสูงอีก ได้แก่ ลูกเกด  แอปพริคอต และ พรุน

คุณแม่ต้องรู้  ผู้หญิงเราจะ ตั้งท้อง ขึ้นมาได้ยังไง

แคลเซียม มีความจำเป็นต่อร่างกายมากทีเดียว ในแต่ละวัน ร่างกายของคุณแม่ จะต้องการปริมาณของแคลเซียม สูงมากกว่าสารอาหารอย่างอื่น เพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของ ทารกในครรภ์ และเพื่อให้คุณแม่ เก็บสะสมเอาไว้ เพื่อใช้ในระยะที่ให้นมด้วย เนื่องจาก แคลเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของ กระดูกและฟัน ในช่วงระยะเวลา 20 สัปดาห์แรก ของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ จะสามารถดูดซึมแคลเซียม ได้มากกว่าปกติ ถึง 2 เท่า และถูกเก็บสะสมเอาไว้ ในกระดูกของแม่ก่อน แล้วทารกในครรภ์ ถึงค่อยมาดูดซึมไปใช้ ซึ่งจะใช้มากจริงๆ ก็ในช่วงไตรมาสที่ 3 ดังนั้น ถ้าคุณแม่ ทานแคลเซียมไม่เพียงพอ ลูกก็จะมาดึงแคลเซียม จากร่างกายของคุณแม่ ทำให้แม่ เกิดภาวะการขาดแคลเซียม ทำให้กระดูกเปราะ และอาจจะหักง่ายได้อีกด้วย

ส่วนฟอสฟอรัสนั้น แม้ว่าร่างกาย จะต้องการในปริมาณที่มาก พอๆ กับ แคลเซียมก็ตาม แต่ถ้าได้รับปริมาณแคลเซียมสูง และเพียงพอ ก็จะได้รับ ฟอสฟอรัส อย่างเพียงพอไปด้วยเช่นกัน เพราะว่าอาหารใดก็ตาม ที่มีปริมาณแคลเซียมสูงมาก ก็จะมักจะมีปริมาณของ ฟอสฟอรัส สูงตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งอาหารที่ว่านี้ก็คือ นม ค่ะ ส่วนแหล่งฟอสฟอรัสอย่างเดียว ที่สูงๆ ก็ได้แก่ กล้วย ค่ะ โอเค เคลียร์นะคะ

ไอโอดีน อันนี้ คงจะเคยได้ยินกัน เกี่ยวกับเด็กที่เกิดมา แล้วเป็นโรคเอ๋อ ก็มีผลมาจากตอนตั้งครรภ์ เช่นกันนะคะ เพราะไอโอดีน เป็นส่วนประกอบของ ฮอร์โมนไธรอยด์ ที่หลั่งมาจากต่อมไธรอยด์ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้ จะมีหน้าที่ เกี่ยวกับ การเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีความจำเป็น สำหรับการเจริญเติบโต ของทารก ซึ่งแหล่งอาหารที่มีไอโอดีนสูง ก็แน่นอนค่ะ ต้องเป็นอาหารทะเล และเกลือที่มีส่วนผสมของไอโอดีน หรือเกลือทะเล นั่นเองค่ะ

สรุปสั้นๆ อีกสักครั้ง สำหรับแหล่งของ วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็น คุณแม่ จะได้ไปหาซื้อมาตุน เอาไว้รับประทาน ในช่วง สัปดาห์แรก ของการตั้งครรภ์นี้ ได้ถูกต้อง

วิตามินเอ – ไข่ ส้มเขียวหวาน แครอท ผักใบเขียว และตับ

วิตามิน บี 1  – เมล็ดข้าวสาลี ข้าว เนื้อหมู ถั่วลิสง และยีสต์

คุณแม่ต้องรู้  โรคครรภ์เป็นพิษ น่ากลัวแค่ไหน เกิดได้ง่ายแค่ไหน อดนอนก็เป็นได้?

วิตามิน บี 2  – ไข่ ธัญพืช ผักใบเขียว และยีสต์

วิตามิน บี 3  – ไข่ นม ตับ ไขมันปลา ธัญพืช และยีสต์

วิตามิน บี 5  – ไข่ ถั่วลิสง ธัญพืช และอโวคาโด

วิตามิน บี 6  – เนื้อสัตว์ เห็ด มันฝรั่ง ธัญพืช และ ยีสต์

วิตามิน บี 12  – ไข่ เนื้อสัตว์ นม หอยนางรม กรดโฟลิก ผักใบเขียว ถั่วลิสง ส้มเขียวหวาน

วิตามิน ซี  – ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ พริกหวาน

วิตามิน ดี  – ไข่แดง เนย นม ไขมันปลา และแสงแดด ยามเช้า และตอนเย็น

วิตามิน อี  – น้ำมันพืช เมล็ดดอกทานตะวัน บล็อกโคลี่ และธัญพืช

แคลเซียม – ไข่ ปลาเล็กปลาน้อย ปลาป่นพร้อมก้าง นม เนื้อสัตว์ และผักใบเขียว

เหล็ก – ตับ เนื้อแดง ไข่ ถั่วลิสง และผักใบเขียว

สังกะสี – เนื้อแดง หอยนางรม หัวหอม และธัญพืช

หวังว่าแค่นี้ คงจะไม่เยอะไป สำหรับการดูแลร่างกาย ของคุณแม่ ในช่วง อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ นะคะ อาจจะละเอียดสักหน่อย เพราะแอดมินเอง ต้องการเอาความรู้ ตั้งแต่ท้องแรก มาจนถึงท้องที่สองนี้ มาแนะนำกัน และอยากให้คุณแม่ทุกท่าน มีสุขภาพที่ดี และมีลูกน้อย ที่สมบูรณ์ครบ 32 ประการ ทุกคนค่ะ สำหรับคุณแม่ ที่อยากรู้เรื่องของ พัฒนาการทารกในครรภ์ ในแต่ละสัปดาห์ ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง สามารถอ่านกันได้เลยค่ะ ในบทความ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 เป็นอย่างไรบ้าง ได้ค่ะ