โรคไอพีดี ในเด็กเล็ก พ่อแม่มือใหม่ เข้าใจโรคนี้ดีแค่ไหน

1836
แบ่งปัน

โรคไอพีดี ( Invasive pneumococcal diesase : IPD) ในเด็กเล็กนั้น นับว่ามีอันตรายมากๆ เพราะเกี่ยวข้องกับ ระบบทางเดินหายใจ และมักจะเกิดกับ เด็กทารกแรกเกิด ซะเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งมีอายุน้อยเท่าไหร่ เชื้อก็ยิ่งมีความรุนแรง มากขึ้นเท่านั้น และโอกาสที่จะเสียชีวิต ก็มีสูงขึ้นด้วย เพราะในเด็กแรกเกิด ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เรียกได้ว่า แทบจะป้องกันอะไรตัวเองไม่ได้เลย ได้แต่เชื้อแบคทีเรีย นิดๆ หน่อยๆ แต่ถ้าไปเจอไวรัส ที่รุนแรงเข้า ก็มีโอกาสเจ็บป่วย จนถึงขั้นเสียชีวิตได้สูงมากๆ ดังนั้น โรคนี้ จึงมองข้ามไม่ได้เด็ดขาด ดังจะเห็นได้ว่า มีการกำหนด ให้เด็ก ควรจะฉีดวัคซีน ไอพีดี เพื่อป้องกัน เชื้อนิวโมคอคคัส ด้วย ซึ่งมันก็ไม่ได้ครอบคลุมอะไรมากมายนักหรอกนะคะ น้องเนปจูน ขนาดฉีดวัคซีนแล้ว ยังเป็น โรคปอดบวม ได้เลย คือ เจ้าเชื้อ นิวโมคอคคัส ที่ว่านี้ เป็นแค่ชื่อกลุ่มนะคะ จริงๆ แล้วมันยังมีอีกมากกว่า 90 สายพันธุ์ วัคซีนที่ฉีดเข้าไป ครอบคลุมได้ไม่หมด ทำให้มีโอกาสเป็นได้เหมือนกัน เพียงแต่ เชื้อที่เอามาทำเป็นวัคซีนนั้นจะเป็น สายพันธุ์ที่รุนแรง คือถ้าเป็นแล้ว จะส่งผลรุนแรงกับเด็ก อาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ นั้น ร่างกายของเด็ก สามารถต่อสู้ และฟื้นตัวได้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ไม่รุนแรงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า โรคปอดบวมนั้น เป็นได้ง่ายมากๆ สาเหตุก็มาจาก ความไม่เข้าใจ ก็เป็น พ่อแม่มือใหม่ จะให้รู้ซะทุกเรื่อง คงเป็นไปไม่ได้ เพราะต้องทำมาหากิน ไม่ได้จบหมอมานี่นา จริงมั้ยคะ แต่ไม่เป็นไร วันนี้ แอดมิน จะเอามาสรุปเป็นข้อๆ แบบเข้าใจง่ายๆ ให้ พ่อแม่มือใหม่ ทุกท่าน ได้ทำความเข้าใจกัน

คุณแม่ต้องรู้  โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบในเด็ก ดูแลได้ถ้าเข้าใจ

13 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เชื้อนิวโมคอคคัส ที่ทำให้เกิด โรคไอพีดี

1. เชื้อนิวโมคอคคัส เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีชื่อเต็มๆ ทางวิทยาศาสตร์ว่า Streptococcus pneumoniae

2. เจ้าเชื้อนิวโมคอคคัสนี้ มีมากกว่า 90 สายพันธุ์ ซึ่งแตกต่างกันไป ตามความรุนแรง และช่วงเวลาที่ระบาด

3. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยง ที่จะติดเชื้อได้ง่าย และอาจจะเสียชีวิต จากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้

4. เชื้อนิวโมคอคคัส สายพันธุ์ที่พบบ่อยมากที่สุดในไทย ก็คือ 6B, 19A, 14, 18C และ 6A ( เลขเหล่านี้ คือชื่อของแต่ละสายพันธุ์นะคะ )

5. เด็กที่มีอายุ มากกว่า 5 ปี ขึ้นไป มักจะติดเชื้อ และเจ็บป่วย จาก สายพันธุ์ 19A เป็นหลัก

คุณแม่ต้องรู้  อยากรู้มั้ย? ทำไมต้องฝึกให้ ลูกกินไข่แดง ก่อนไข่ขาว? มีคำตอบค่ะ

6. เจ้าเชื้อนิวโมคอคคัส สายพันธุ์ 19A นี้ มีความสามารถในการปรับตัวดีมาก จึงทำให้มัน มีจุดเด่นในการ ดื้อยาปฏิชีวนะ เป็นอย่างมาก

7. เชื้อนิวโมคอคคัส ที่ว่ามานี้ จะทำให้เกิดโรค ไอพีดี ซึ่งได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และ ปอดบวม

8. นอกจากโรครุนแรงแล้ว เชื้อนิวโมคอคคัส บางสายพันธุ์ สามารถก่อให้เกิด โรคติดเชื้อชนิดที่ไม่รุนแรงได้ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ และไซนัสอักเสบ

9. เชื้อนิวโมคอคคัส มักจะสะสมอยู่ในโพรงจมูกของเด็กๆ

10. เชื้อนิวโมคอคคัส สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นๆ ผ่านทางละออง จากการ ไอ หรือ จาม

11. เด็กแรกเกิด ที่มีอายุยังไม่ถึง 1 ขวบ มีความเสี่ยง ที่จะทำให้เสียชีวิตได้มากที่สุด ยิ่งอายุน้อยเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงสูงมากเท่านั้น

12. แม้เชื้อนิวโมคอคคัสนี้ จะมีหลายสายพันธุ์ และรุนแรง แต่สามารถป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน ให้กับลูกน้อยได้นะคะ

คุณแม่ต้องรู้  จะพา ลูก ไป ฉีดวัคซีนเด็ก ที่ไหนดี

โรคไอพีดี และโรคปอดบวม หรือ ปอดติดเชื้อนั้น สามารถป้องกัน และดูแลรักษาได้ แต่วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันค่ะ เพราะในเด็กเล็ก เค้ายังช่วยตัวเองไม่ได้ การติดเชื้อในปอด จะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก จนอาจเสียชีวิตได้ ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่อย่างเราๆ นะคะ เด็กแรกเกิด ยังใช้มือ ช่วยแคะจมูกไม่เป็น ทำอะไรก็ไม่ได้ อึดอัด หายใจไม่ออก ก็ได้แต่ร้องไห้ ร้องมากๆ เสมหะติดคอ หายใจลำบากหนักขึ้นไปอีก ดังนั้น การป้องกัน คือวิธีที่ดีที่สุด โดยการ ไม่พาลูกออกนอกบ้าน ไม่ให้คนอื่น มาอุ้มลูกเรา จนกว่า ลูกเราจะอายุได้ 6 เดือน อย่าให้ไปพบปะ หรือไปเล่นกับเด็กที่ไหนเด็ดขาด เพราะอาจจะเสี่ยง ต่อการติดเชื้อมาได้ อันนี้ เรื่องจริงนะคะ และควรดูแล ให้เด็ก มีร่างกายที่อบอุ่น ในช่วงหน้าฝน อย่าให้ร่างกายของเค้า เจอกับอากาศเปลี่ยน หรืออากาศภายนอกเยอะๆ เพราะอาจจะไม่สบายได้ง่ายๆ รอให้ 6 เดือนก่อน ค่อยพาออกมาเล่น มาสูดอากาศนอกบ้านนะคะ