ก่อนจะ ตั้งครรภ์ ต้องทำอะไรบ้าง ตอนที่ 1

15268
แบ่งปัน

การเตรียมตัว และวางแผน สำหรับการ ตั้งครรภ์ นั้น เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ต้องทำ หลายคู่ ไม่ได้วางแผน ปล่อยไปตามธรรมชาติ อยู่ๆ ก็มีขึ้นมาโดยไม่คาดฝัน อันนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายพอสมควรทีเดียว ทั้งในเรื่องความพร้อมทางด้านสุขภาพของ คุณแม่ และ เรื่องของอารมณ์ ทางที่ดีที่สุด ควรจะมีการวางแผน กำหนดเวลาสำหรับการเตรียมตัว เพื่อให้คุณ และสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว ได้มีเวลาปรับตัว และเตรียมความพร้อม สำหรับต้อนรับ ทารกน้อย ที่จะเกิดมาในไม่ช้า ซึ่งเวลาก่อนการจะเริ่มอย่างดีที่สุด ควรจะให้เวลาในการเตรียมตัวอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป ยิ่งนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี แต่ถ้าเตรียมตัวเพียงแค่ 1 เดือน ก่อน การตั้งครรภ์ นั้น ดูเหมือนว่า จะมีความเสี่ยงที่อันตรายค่อนข้างเยอะ ขอย้ำว่า นี่คือ เวลาที่ต้องเตรียมตัว ก่อนจะเริ่ม มีเพศสัมพันธ์ (แบบปล่อย ไม่คุมกำเนิด) เพื่อที่จะมีลูกนะคะ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเวลาก่อนที่จะเริ่มท้องนั่นเอง ยิ่งให้เวลากับตัวเอง ในการเตรียมตัว ตั้งครรภ์ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี เดี๋ยวเราจะมาดูเหตุผลกันเลยค่ะ ว่าทำไม ยิ่งใช้เวลาในการเตรียมตัวมาก ก็ยิ่งดี และปลอดภัยกับ ทารก ที่อยู่ในครรภ์ ของเรา มากขึ้นเท่านั้น

ก่อนจะ ตั้งครรภ์ ต้องทำอะไรบ้าง ตอนที่ 1

วิธีเตรียมความพร้อมก่อน ตั้งครรภ์

1. เลิกใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดทุกชนิด

เรื่องนี้ถือเป็นความสำคัญอันดับ 1 เลยนะคะ ถ้าก่อนหน้านั้น คุณมีการคุมกำเนิด ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด , การใส่ห่วงในโพรงมดลูก หรือการใช้ไดอะเฟรม (สองอันหลังนี้ มี คุณแม่ จำนวนน้อย ที่จะทำ ) ต้องให้หยุดใช้ ในช่วงเตรียมตัว ก่อนการ ตั้งครรภ์ เพื่อให้รอบเดือน หรือประจำเดือน ของคุณ มาเป็นปกติอย่างน้อยๆ 1 รอบ ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งดิฉันแนะนำว่า ให้หยุดไปสัก 3 เดือนเลย จะดีที่สุดค่ะ ให้ระบบการมีรอบเดือนของเรา เข้าที่ข้างทางเสียก่อน จะดีที่สุดค่ะ แต่ถ้าคุณมีปัญหาเกิดมี การตั้งครรภ์ ระหว่างการใช้วิธีคุมกำเนิด ในแบบต่างๆ แล้วล่ะก็ อันนี้ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ โดยทันทีนะคะ ดิฉันไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ ต้องฝากครรภ์ เลยมั้ย หรือต้องรอก่อน

2. ตรวจความพร้อมทางด้านสุขภาพโดยละเอียด

ว่าที่คุณแม่ ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย อย่างละเอียดเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ตรวจเต้านม หัวใจ ปอด ชีพจร ความดันโลหิต น้ำหนัก ส่วนสูง หรือตรวจภายในเฉพาะสตรี ซึ่งได้แก่ การตรวจมดลูก หรือความกว้างของเชิงกราน ( มีผลต่อการตั้งครรภ์นะคะ ) เพื่อดูว่า ร่างกายของเรานั้น มีความพร้อมสำหรับการ ตั้งครรภ์ หรือไม่ ซึ่งผลการตรวจเหล่านี้จะเป็นเครื่องช่วยให้แพทย์ วิเคราะห์ได้ว่า คุณสมควรที่จะมีลูกหรือไม่ ดังนั้นถ้าจะไปตรวจร่างกาย ก็ควรจะไปตรวจที่โรงพยาบาล ที่เราตั้งใจจะไปฝากท้องเลย เพราะจะได้ไม่ต้องไปตามหาประวัติการตรวจร่างกาย หรือทำการตรวจร่างกายใหม่ให้ยุ่งยาก

ยิ่งคุณแม่ ที่ตั้งใจจะมีท้องแรก และมีอายุมากกว่า 33 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความจำเป็น ต้องตรวจสุขภาพโดยละเอียดอย่างสูงเลยนะคะ เพราะมีความเสี่ยงมากๆ ที่จะส่งผลต่อทารก อาจถึงขั้น ทำให้ทารกเป็น ดาวน์ซินโดรม ได้เลยนะคะ ยิ่งในปัจจุบันแล้ว ส่วนใหญ่ คุณแม่มือใหม่ มักจะมีอายุราวๆ นี้ทั้งนั้นเลยค่ะ จะด้วยเศรษฐกิจทางสังคม หรือความนิยมยังไงก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว คุณแม่ ในปัจจุบัน มักจะมีอายุสูงกว่า 30 ปีเสมอ

คุณแม่ต้องรู้  ปอดอักเสบ ในเด็ก ต้องระวังให้ดี ลูกเป็นได้ง่ายมากๆ นะ

3. ตรวจสอบประวัติทางพันธุกรรมของตระกูล

ฟังดูอาจจะเหมือนแรง ว่าจะให้เช็คประวัติอะไรขนาดนั้น แต่มันมีผลมากๆ เลยนะคะ ในเรื่องของพันธุกรรม ถ้าครอบครัวของคุณ หรือสามี มีประวัติของโรค ที่เกี่ยวกับ กรรมพันธุ์ เช่น โรคดาวน์ ( Down’s Syndrome ) หรือ โรคฮีโมฟิเลีย ( Hemophilia ) คุณมีความจำเป็น ที่จะต้องไปพบแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ ก่อนที่จะตัดสินใจว่า จะมีลูกหรือไม่ เพราะว่า ลูกน้อย ของคุณ อาจจะมีอัตราเสี่ยง ที่จะเป็นโรคทาง กรรมพันธุ์ ต่างๆ เหล่านี้ได้

4. ตรวจสอบหมู่เลือดอย่างละเอียด

ที่บอกว่า ต้องตรวจหมู่เลือดอย่างละเอียดนั้น ไม่ใช่การตรวจว่า เป็นเลือดกรุ๊ปอะไรนะคะ แต่ให้ตรวจหมู่เลือดระบบ Rhesus หรือที่เรารู้จักกันว่า Rh นั่นแหละค่ะ ระบบ Rhesus นั้น เป็นวิธีการแบ่งแยกหมู่เลือดที่แตกต่างไปจากระบบ หมู่เลือด A, B และ O เนื่องจาก หมู่เลือดระบบ Rh หมายถึง การตรวจหา Rhesus Factor ซึ่งเป็นโปรตีน ที่พบอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง คนที่มีโปรตีนชนิดนี้ อยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงนั้น แสดงว่า มีหมู่เลือด Rh+ แต่ถ้าคนๆ นั้น ไม่มีโปรตีนตัวนี้อยู่ ก็จะถือว่าเป็นหมู่เลือด Rh องค์ประกอบส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากเชื้อชาติด้วย เนื่องจาก ชาวต่างชาติ หรือฝรั่ง มักจะมีหมู่เลือด Rh+ มาถึง 85% ที่เหลือเป็น Rh ส่วนคนไทยเรา 99% จะมีหมู่เลือด Rh+ ที่เหลือเป็น Rh ซึ่งมีอยู่จำนวนน้อยมากๆ

คุณแม่ต้องรู้  วิธีตรวจดาวน์ซินโดรม Nifty Test ทารกสำหรับคุณแม่ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป

แล้วเจ้า Rh+ หรือ Rh มันมีผลยังไงกับ การตั้งครรภ์ อย่างนั้นหรือ ?

ถ้าหากแม่ กับลูก มีหมู่เลือด Rh แตกต่างกัน เช่น ถ้าแม่ มีหมู่เลือด Rh- แต่ทารกที่อยู่ในท้อง ดันมีหมู่เลือด Rh+ ก็มีโอกาสที่ หมู่เลือด Rh+ จากทารก ผ่านเข้าสู่ระบบเลือดของแม่ ผ่านทางรก แล้วเข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายของแม่ ให้สร้างภูมิต้านทาน Rh+ ขึ้นมา ปัญหาอาจจะไม่เกิดกับ ทารกที่อยู่ในท้องคนแรก ที่เป็น Rh+ แต่จะมีผลกับ ทารกคนต่อไปอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากมีลูกอีกคน แล้วเกิดมีหมู่เลือด Rh+ เหมือนคนแรก จะถูกภูมิต้านทานของแม่ ทำให้เม็ดเลือดแดงของทารกแตกสลาย และถ้ามีปริมาณภูมิต้านทาน Rh+ ของแม่มากพอ อาจทำให้ทารกเสียชีวิต หรือถ้ายังมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นดีซ่าน อย่างรุนแรง อันตรายมากๆ เลยนะคะ

โดยปกติแล้ว คุณแม่มือใหม่ ทั่วๆ ไป มักจะมองข้าม ไม่ค่อยได้ใส่ใจในเรื่องนี้ และในบางครั้ง ทางแพทย์ที่ไม่ชำนาญ ก็อาจลืมตรวจเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่มือใหม่ ทุกคน ต้องใส่ใจเรื่องนี้นะคะ

ยังไม่หมดเพียงแค่นี้นะคะ ยังมีอีกหลายอย่างที่ว่าที่ คุณแม่ ต้องรู้ และเตรียมตัวก่อนที่จะเริ่มวางแผน ตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถติดตามได้ ในตอนต่อไป ” ก่อนจะวางแผน ตั้งครรภ์ ต้องเตรียมทำอะไรบ้าง ตอนที่ 2