พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

3670
แบ่งปัน

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 ตัวอ่อน ที่ฝังตัวในผนังมดลูกแล้ว จะเริ่มพัฒนาการ เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็น 1 เท่าตัว จาก 0.1 มม. ในสัปดาห์แรก เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 2 นี้ จะมีขนาดเป็น 0.2 มม. เมื่ออายุครรภ์ 2 สัปดาห์ รก และถุงน้ำคร่ำ จะได้รับการพัฒนา เพื่อเตรียมสำหรับใช้งาน รวมทั้งยังมีส่วนที่เรียกว่า โคริโอนิกวิลล ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณรก เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ เพราะจะต้องถูกเจาะมาตรวจ หรือที่เราคุ้นเคยกันในการตรวจที่เรียกว่า การเจาะถุงน้ำคร่ำ มาตรวจ ซึ่งก่อนหน้านี้ แอดมินเคยแนะนำไปแล้วว่า มันยังมีทางเลือก คือการตรวจคัดกรองด้วย Nifty Test เพื่อหาความเสี่ยง เกี่ยวกับปัญหาโครโมโซม ที่จะเป็นสาเหตุให้เกิด ดาวน์ซินโดรม ในทารกเสียก่อน หากพบว่ามีความเสี่ยง ถึงค่อยทำการเจาะถุงน้ำคร่ำ เพราะมันมีความอันตราย อย่างที่เราเข้าใจกันนี่แหละค่ะ หากผิดพลาดขึ้นมา อาจจะทำให้แท้ง หรืออาจทำให้ ทารกในครรภ์ ติดเชื้อได้เลยนะคะ ซึ่งผลก็คือ ต้องแท้งอยู่ดี ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ จึงไม่ค่อยมีใคร อยากจะเจาะถุงน้ำคร่ำหรอกค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป มันเป็นความเสี่ยง และมีความจำเป็น ที่ต้องเจาะตรวจจริงๆ ค่ะ แต่แอดมินเอง ขอเลือกการตรวจเลือดคัดกรอง ก่อนดีกว่าค่ะ เพื่อความชัวร์ ยังไม่อยากถูกเจาะตรวจสักเท่าไหร่ ไม่อยากให้มีอะไรเสี่ยงกับทารกในครรภ์ค่ะ

คุณแม่ต้องรู้  ปากมดลูกหลวม อาการที่คุณต้องรู้ เพราะตรวจคัดกรองก่อนการตั้งครรภ์ไม่ได้

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

วันที่ 8 ตัวอ่อน ที่มีการฝังตัว ที่ผนังมดลูกก่อนหน้านี้ จะมีการเจริญเติบโต และพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากๆ จนตอนนี้ จะเรียกได้แล้วว่าเป็น เอมบริโอ ( embryo )

วันที่ 9 เริ่มมีการเจริญเติบโต ของถุงน้ำคร่ำ กลายเป็นเยื่อหุ้มบางๆ ใสๆ อยู่ที่ชั้นในสุด ซึ่งในถุงน้ำคร่ำนี้ จะมีน้ำคร่ำ บรรจุอยู่ ซึ่งเปรียบเสมือเป็นเบาะนุ่มๆ ที่คอยปกป้อง เอมบริโอ ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน และแรงกด ซึ่งอาจจะมาจากอริยาบถต่างๆ ของแม่ รวมทั้งยังช่วยในเรื่องของ การควบคุมอุณหภูมิให้อุ่น และคงที่อีกด้วย แต่ก็ไม่ได้แน่นเกินไปนะคะ เอมบริโอ ยังคงสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างสะดวก ภายในถุงน้ำคร่ำอยู่

วันที่ 10 เอมบริโอ ยังคงมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการแบ่งเซลล์ โดยใช้อาหารจากถุงไข่แดง มาใช้ในช่วงที่ รกยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่

วันที่ 11 เยื่อบางๆ ชั้นนอก ที่หุ้มถุงน้ำคร่ำอยู่ จะยื่นเข้าไปในมดลูก พร้อมๆ กับ ที่มดลูกก็จะยื่นส่วนเข้ามา เชื่อมต่อด้วย มีลักษณะคล้ายกับ นิ้วมือ มาบรรจบกัน ซึ่งก็คือ รก ที่กำลังถูกสร้างขึ้นนั่นเอง เพื่อใช้แลกเปลี่ยนออกซิเจนและขับถ่ายของเสีย และเชื่อมต่อประสาท และความรู้สึกระหว่าง แม่กับลูกถึงกัน

คุณแม่ต้องรู้  ผู้หญิงเราจะ ตั้งท้อง ขึ้นมาได้ยังไง

วันที่ 12 ในวันนี้ ขนาดของทารกจะใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เป็นขนาด 0.2 มิลลิเมตร แล้ว

วันที่ 13 จะมีการเจริญเติบโตของ โคริโอนิกวิลไล ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อ ที่อยู่บริเวณรก ซึ่งจะเป็นส่วนที่ถูกใช้เจาะ เพื่อตรวจสุขภาพของทารก ในกรณีที่จำเป็น หรือคุณแม่มีอายุมาก หรือที่เรียกว่า การเจาะถุงน้ำคร่ำนั่นเองค่ะ ( การตรวจแบบ CVS )

วันที่ 14 ในวันนี้ โคริโอนิกวิลไล ถุงไข่แดง และถุงน้ำคร่ำ จะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะเจริญเติบโต และพัฒนาการเข้าสู่ขั้นต่อไป